5 ปัจจัยความสำเร็จ ‘เงินติดล้อ’ จากเงินกู้ห้องแถว สู่สินเชื่อหมื่นล้าน

Highlight

จากเงินกู้ห้องแถว สู่สินเชื่อหมื่นล้าน

ตลาดหุ้นกำลังคึกคักรอต้อนรับน้องใหม่ #TIDLOR

หรือบริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) สินเชื่อทะเบียนรถชื่อดัง

ที่เริ่มต้นจากการเป็นเงินกู้ห้องแถว

จนมาเป็นธุรกิจสินเชื่อที่ทุกคนรู้จักในวันนี้

แล้ว 5 ปัจจัยความสำเร็จของ ‘เงินติดล้อ’

จะมีอะไรบ้าง #AGENDA สรุปให้แล้วค่ะ

————

สิ่งที่ธุรกิจพื้นฐานดีมี

ก็คือความเข้าใจใน Pain ของกลุ่มเป้าหมาย

ในกรณีของ #เงินติดล้อ นั้นเรียกว่า ตอบโจทย์ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายได้ และเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนไม่น้อยเสียด้วย

ในประเทศไทย อาชีพอิสระ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก เกษตรกร หรืออื่น ๆ ที่รายได้ไม่แน่นอนนั้น

การเข้าถึง ‘เงินทุนหรือสินเชื่อ’ จากแหล่งที่ดี เชื่อถือได้และมีสัญญาที่เป็นธรรมแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

เพราะแหล่งสินเชื่อเหล่านี้ต้องใช้เครดิตที่มากพอ

ทำให้มีคนที่เข้าถึงสินเชื่อและบัตรเครดิต ยังมีเพียงราว ๆ 12 ล้านคนเท่านั้น

รายย่อยจึงต้องหันไปพึ่งพา ‘เงินกู้นอกระบบ’ ที่มีสัญญาไม่เป็นธรรม และอันตราย 

ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังขาดการขนส่งสาธารณะ

ที่รองรับการเดินทางได้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

รถยนต์ส่วนตัว รถจักรยานยนต์ 

กลายเป็นการเดินทางที่สะดวกและราคาถูกที่สุดในหลายแง่มุม 

จึงไม่น่าแปลกใจที่คนไทยเป็นเจ้าของรถในสัดส่วนสูงที่มาก

คือจำนวนประชากรคนไทยราวๆ 67 ล้านคน

มีรถจดทะเบียนราว 40 ล้านคัน คิดเป็นสัดส่วนแล้วเยอะเกินครึ่งของประชากร

2 ปัจจัยนี้ มาประจวบเหมาะกับช่องว่าง

ที่ว่าธุรกิจสินเชื่อป้ายทะเบียนนั้นยังไม่ค่อยมีแพร่หลาย

ธุรกิจของเงินติดล้อ ที่ค่อย ๆ ก่อร่างสร้างชื่อมาเรื่อย ๆ 

จึงยืนอยู่บนพื้นฐานของการ ‘สนอง Need’ ได้อย่างตรงจุด

มีกลุ่มเป้าหมายแล้ว

มีโมเดลธุรกิจแล้ว

ถัดไปคือ การมองตัวเองเทียบกับคู่แข่ง

ปกติเงินกู้รายย่อยและเงินกู้นอกระบบทั่วไป

มีภาพลักษณ์ความ ‘นักเลง’ หรือดูน่ายำเกรง

เพื่อข่มขวัญลูกหนี้ให้คืนเงินและจ่ายดอกตรงเวลา

แต่เงินติดล้อ พยายามสร้างภาพลักษณ์ที่แตกต่างออกไป

คือมีจุดยืนที่จะเป็นแหล่งเงินทุนที่เป็นธรรม โปร่งใส

ไม่ได้วางตัวเป็นเจ้าหนี้เงินกู้

แต่มองตัวเองเป็น Financial Service

ลบภาพเงินกู้ที่น่ากลัว สู่การเป็นตัวช่วยแก้ปัญหาเรื่องเงินด่วน

การสร้างภาพลักษณ์นี้ ไม่เพียงทำผ่านโฆษณาที่สนุก เข้าใจง่าย จำง่ายเท่านั้น

แต่ยัง #สร้างวัฒนธรรมองค์กร แบบเงินติดล้อด้วย

โดยคัดเลือกพนักงานที่มีผลงานโดดเด่น

น่าเอาเป็นแบบอย่าง เป็นเหมือน Star ขององค์กร

มาถอดรหัสวิธีการทำงาน ทัศนคติ กลั่นออกมาเป็นวัฒนธรรมขององค์กร

และใช้เป็น Guideline ในการคัดคนเข้าองค์กร

พร้อมเน้นสร้าง Service Mindset หรือหัวใจการบริการในทุกคน

ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากผู้ปล่อยเงินกู้รายย่อยอื่น ๆ 

โดยเฉพาะการกู้นอกระบบ ที่เคยเป็นที่พึ่งสุดท้ายของกลุ่มที่มองหาเงินสดแบบฉุกเฉิน

แต่แค่นั้นไม่เพียงพอที่จะดันให้ประสบความสำเร็จได้ยั่งยืน

เพราะการบริหารความเสี่ยงก็เป็นสิ่งสำคัญ

โดยเงินติดล้อ มีการใช้นวัตกรรมบริหารความเสี่ยง

เช่น ระบบอนุมัติสินเชื่อจากข้อมูลคะแนนเครดิตของลูกค้า 

และสร้างระบบติดตามหนี้ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดโอกาสเกิดหนี้เสียได้ดี

โดยเงินติดล้อมี NPL หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพียงราวๆ 1.7%

นอกจากนี้ เงินติดล้อยังใช้ Big Data ดีไซน์บริการใหม่ ๆ

เช่น บัตรติดล้อ บัตรกดเงินสดที่มาพร้อมกับบริการให้สินเชื่อ

ธุรกิจนายหน้าประกันภัยรถยนต์

และการให้บริการผ่าน Omni Channel

ทั้งแอปพลิเคชั่น Call Center ไปจนถึง Chatbot

เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายที่สุด ในทุกเวลาที่ฉุกเฉิน

การมองเห็นโอกาส และช่องว่างธุรกิจ ประกอบกับการตีโจทย์การสื่อสารและการวางตัวได้แตกกระจุย

พร้อมทั้งไม่หยุดพัฒนาในยุคที่เทคโนโลยีกำลังดิสรัปท์แม้กระทั่งสถาบันการเงินใหญ่

ทำให้ ‘เงินติดล้อ’ เติบโตเป็นสินเชื่อทะเบียนรถหมื่นล้าน และได้รับความสนใจอย่างมาก ในการก้าวเข้าสู้ตลาดหลักทรัพย์ครั้งนี้

#AGENDA #TIDLOR

ที่มา:

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน)

– The Secret Sauce

– การตลาดวันละตอน

– ลงทุนแมน

Popular Topics