Home Social เมื่อโควิด 19 ซ้ำบาดแผลทางการศึกษา แต่ละประเทศ​​มีนโยบายช่วยเหลืออะไรบ้าง?

เมื่อโควิด 19 ซ้ำบาดแผลทางการศึกษา แต่ละประเทศ​​มีนโยบายช่วยเหลืออะไรบ้าง?

0

ก่อนหน้าการระบาดของโควิด 19

หลายล้านครัวเรือนทั่วโลก ก็ประสบกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ยังไม่เบาบางลง

สถิติทั่วโลกในปี 2018 เด็กที่อยู่ในวัยประถมและมัธยมกว่า 258 ล้านคนต้องออกจากโรงเรียน 

แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด มีเด็กอีกอย่างน้อย 1.2 ล้านคน จำเป็นต้องออกจากโรงเรียน 

ในขณะที่เด็กไทยกว่า 65,000 คน อาจจะไม่ได้เรียนต่อสิ้นปีนี้

แนวทางแก้ปัญหาการศึกษาแรก ๆ เมื่อเกิดวิกฤติโควิด 19 โรงเรียนและสถานศึกษาส่วนใหญ่ทั่วโลกต้องปิดชั่วคราว หลายที่เลือกที่จะเปลี่ยนมาเรียนผ่านออนไลน์แทน

แต่จากเวลาที่ผ่านมากว่าปี ผลสรุปของการเรียนออนไลน์กลับไม่ใช่ทางออกที่จะพึ่งพิงได้ถาวร แต่กลายเป็นตอกย้ำปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่มีอยู่ให้รุนแรงมากขึ้นไปอีกในหลายด้าน ได้แก่

– ขาดแคลนกำลังทรัพย์เพื่อเข้าถึงอุปกรณ์และอินเทอร์เน็ต

การเรียนออนไลน์นั้นต้องพึ่งพิงอุปกรณ์ดิจิทัลที่เหมาะสม และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เสถียรมากพอ

แต่จากรายงานข่าวต่าง ๆ เราจะยังพบว่า หลายครอบครัวประสบปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ดิจิทัล ถ้าลูกมากกว่าหนึ่ง ก็ต้องมีอุปกรณ์มากกว่าหนึ่ง ไม่นับที่ว่าขนาดจอและประสิทภาพของเครื่องที่มีดีพอหรือไม่

ประเด็นที่ถกเถียงกันล่าสุดในไทย คือสถานศึกษาชื่อดังได้ออกกำหนดวิธีการเข้าร่วมสอบวัดผลที่ต้องใช้อุปกรณ์ดิจิทัล 2-3 เครื่องในการสอบ

เรื่องเหล่านี้ดูจะเป็นไปไม่ได้เลยโดยในกลุ่มเฉพาะเด็กที่ยากจน

เพราะนอกจากค่าอุปกรณ์ดิจิทัลที่ต้องจ่ายแล้ว ค่าแพคเกจอินเทอร์เน็ตก็ไม่น้อยเลยถ้าต้องจ่ายให้เพียงพอตลอดเทอม

– ขาดสารอาหาร

อาหารกลางวันที่โรงเรียน เป็นที่พึ่งของเด็ก ๆ กว่า 310 ล้านคนในประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง (World Food Programme, 2019) แต่เมื่อโรงเรียนปิด เด็ก ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่ยากจน ต้องหิวโหยและการขาดสารอาหาร

– เรียนไม่ทัน คะแนนตก โดยเฉพาะกลุ่มยากจน

การปิดโรงเรียนเป็นเวลานาน จะทำให้เด็ก ๆ ยิ่งเสียโอกาสการเรียนรู้มากขึ้น

นอกจากนี้ การเรียนออนไลน์ยังทำให้เกิดความเครียดและความกดดัน ข้อมูลจากศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. พบว่า เด็กไทย 70% ยอมรับว่าเครียดจากผู้ปกครองไม่เข้าใจการเรียนออนไลน์ และเกิดการทะเลาะวิวาทกันในครอบครัว

ในเคสที่เศร้ากว่านั้น หลายประเทศพบเด็กทำร้ายตัวเองเพิ่มขึ้น และในกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือเกิดการสูญเสียที่ไม่อาจเรียกคืน

ด้วยปัญหาเหล่านี้ หลายประเทศจึงต้องให้ความสำคัญกับวัยเรียนโดยเร่งด่วน

แล้วแต่ละประเทศ​​มีนโยบายช่วยเหลืออะไรบ้าง?

1. ไทย

  • โครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
  • สนับสนุนค่าอินเทอร์เน็ตเดือนละ 79 บาท 2 เดือน (ส.ค.-ต.ค. 64) วงเงิน 1,200 ล้านบาท
  • สนับสนุนค่าเทอม 2,000 บาทต่อนักเรียน 1 คน จำนวน 11 ล้านคน วงเงิน 22,000 ล้านบาท

2. สิงคโปร์

  • อุดหนุนเงินขั้นต่ำ 200 ดอลลาร์สิงคโปร์ (4,600 บาท) ต่อคน และได้เงินอุดหนุนเพิ่มถ้ารายได้น้อย
  • แจกแท็บเล็ตหรือแล็ปท็อปให้เด็กมัธยมทุกคน ภายใต้โครงการ National Digital Literacy Program ภายในสิ้นปี 2021
  • แนะนำวิธีรับมือกับความเครียด มีช่วงสนับสนุนให้นักเรียนได้พูดความรู้สึก ในทุก ๆ สัปดาห์ของการเรียน

3. อังกฤษ

  • ส่งอาหารกลางวันให้ฟรีถึงบ้าน
  • โครงการติวพิเศษแห่งชาติ (NTP) ติวตัวต่อตัวทุกสัปดาห์ มีเด็กนักเรียนด้อยโอกาสเข้าร่วมกว่า 100,000 คน
  • เพิ่มกิจกรรม Learning Camp หรือ Summer Camp ให้เด็กๆ ได้ปรับพื้นฐานความรู้ก่อนกลับสู่โรงเรียน

4. สหรัฐอเมริกา

  • เลื่อนการเก็บดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการศึกษา
  • ให้เงินช่วยเหลือสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถาบันการศึกษาระดับสูง 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ถ้าโรงเรียนปิดอย่างน้อย 5 วัน มีส่งอาหารเช้าและกลางวันให้ถึงบ้าน

ที่มา:

  • the101.world/inequality-in-education-and-covid-19/
  • https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/953042
  • https://www.thairath.co.th/news/society/2163717
  • https://www.thairath.co.th/news/politic/2156617
  • https://www.bbc.com/thai/international-57607930
  • https://fortune.com/2021/08/12/as-delta-infections-spiked-covid-cases-in-schools-actually-fell-a-lesson-from-england/
    https://www.eef.or.th/news-09-03-21/
  • https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2147657
  • https://www.sanook.com/news/8337930/
  • https://www.cbsnews.com/news/student-loan-payments-freeze-executive-order/
  • https://www.congress.gov/bill/116th-congress/house-bill/6201
  • https://www.prachachat.net/public-relations/news-727932

Exit mobile version