Home Social History 8 การค้นพบที่สั่นสะเทือนโลกแห่งปี 2023

8 การค้นพบที่สั่นสะเทือนโลกแห่งปี 2023

0

ผ่านมาแล้วครึ่งปี 2023 โลกเราเจอแต่อะไรใหม่ๆ ก็ว้าวุ่นกันเลยทีนี้!

.

การค้นพบสิ่งใหม่ ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับทุกคน เพราะเป็นโอกาสที่ได้เรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบตัว ที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ

.

ซึ่งมีหลายครั้งที่การค้นพบสิ่งใหม่ เป็นการค้นพบที่อาจสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วโลก เพราะเป็นการค้นพบที่ทำลายความรู้ดั้งเดิม นำไปสู่การเรียนรู้และศึกษาทำความเข้าใจในสิ่งที่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อน

#Agenda ขอหยิบยก “8 การค้นพบที่สั่นสะเทือนโลกในปี 2023” ว่ามีอะไรบ้าง ตามไปดูกัน

.

1) ค้นพบแรงที่ 5 ของโลก

กลายเป็นข่าวที่ทำให้ทั่วโลกต่างตื่นตัว เมื่อ​ทีมนักฟิสิกส์​จากแฟร์มีแล็บ ในสหรัฐฯ​ ได้ทดสอบการเร่งอนุภาค ‘มิวออน’ ซึ่งพบว่าอนุภาคดังกล่าวมีการเคลื่อนที่แตกต่างจากแรงพื้นฐานที่หลายคนรู้จักทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม และแรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน ซึ่งการค้นพบแรงธรรมชาติ​ชนิด​ที่​ 5 นี้หากมีจริง อาจนำไปสู่การไขคำตอบเกี่ยวกับการกำเนิดของจักรวาลได้

.

2) ค้นพบสสารที่ 6 จากการทดลองควอนตัม

ทีมนักฟิสิกส์จากสหรัฐฯ และจีน ได้ค้นพบสสารในสถานะใหม่ที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “สถานะที่ 6” ที่มีชื่อว่า “ของเหลวโบซแบบไครัล” (Chiral Bose-liquid state) ซึ่งเป็นสถานะของสสารที่เกิดขึ้นในภาวะพิเศษสุดขั้วของระบบอนุภาคควอนตัม ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบบเก็บรักษาข้อมูลของคอมพิวเตอร์ควอนตัม เพราะสามารถทำให้อิเล็กตรอนหยุดอยู่กับที่ในรูปแบบที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้

.

3) โลกเข้าสู่ยุคแอนโทรโพซีน หลังเจอภาวะโลกรวนต่อเนื่อง

นักวิทยาศาสตรพบพลูโทเนียมในตะกอนใต้ทะเลสาบ ซึ่งเป็นธาตุที่แทบจะไม่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งคาดว่าอาจมาจากการทดสอบนิวเคลียร์ในปี 1950 รวมถึงมลภาวะจากการทำอุตสาหกรรม และการปล่อยคาร์บอนตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ส่งผลให้โลกเข้าสู่ยุคแอนโทรโพซีน (Anthropocene) ซึ่งหมายถึงยุคสมัยที่เกิดจากฝีมือมนุษย์เป็นผู้เปลี่ยนแปลงธรรมชาติของโลก

.

4) บอกลาโลกร้อน ต้อนรับโลกเดือด

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า ‘ภาวะโลกร้อน’ มานาน แต่ล่าสุด องค์สหประชาชาติได้ประกาศว่า ยุคของภาวะโลกร้อน (global warming) ได้สิ้นสุดลง และจากนี้ไปโลกได้เข้าสู่ยุค “โลกเดือด” (global boiling) ซึ่งเกิดจากภัยพิบัติธรรมชาติ ภูเขาไฟระเบิด การปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก และปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรง ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียสไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย 

.

5) กระแสน้ำอุ่นจะหายไปในอีก 3 ปี

หนึ่งในผลกระทบใหญ่ที่เกิดจาก “ภาวะโลกร้อน” คือ กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม กำลังจะล่มสลายภายในปี 2025 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า เนื่องจากมีกระแสน้ำดังกล่าวมีหน้าที่ส่งกระแสน้ำอุ่นไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือเพื่อสร้างสมดุลสภาพอากาศ ซึ่งหากกระแสน้ำกัลฟ์สตรีมถูกทำลายจนล่มสลายไปในที่สุด จะทำให้เกิดหายนะทางสภาพอากาศในทุกพื้นที่ทั่วโลก

.

6) ดาวหางที่เห็นได้ครั้งเดียวในชีวิต

นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวญี่ปุ่น ฮิเดโอะ นิชิมูระ ได้ค้นพบดาวหางดวงหนึ่ง ซึ่งภายหลังได้รับการตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ ได้โคจรมาใกล้โลกที่สุดในช่วงก่อนรุ่งสางเมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา และสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งดาวหางดวงนี้ต้องใช้เวลาถึง 500 ปีในการโคจรรอบระบบสุริยะจักรวาล จึงกลายเป็นดาวหางที่ทุกคนมีโอกาสได้เห็นเพียงครั้งเดียวในชีวิตเท่านั้น

.

7) พบปลาใต้ทะเลที่ลึกที่สุดในโลก

นักวิทยาศาสตร์ในออสเตรเลีย ได้ค้นพบปลาที่อยู่ลึกที่สุดในมหาสมุทรเท่าที่เคยค้นพบมา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ “สเนลฟิช” โดยปลาชนิดดนี้ถูกพบในขณะที่กำลังว่ายน้ำอยู่ที่ระดับความลึก 8,336 เมตร ซึ่งปลาชนิดนี้สามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในน้ำเย็นของมหาสมุทรอาร์กติกและแอนตาร์กติก รวมถึงมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแรงดันสูงกว่าเหนือพื้นทะเลถึง 800 เท่าเลยทีเดียว

.

8) ขนสลอธทำยาปฏิชีวนะได้

นักวิทยาศาสตร์จากคอสตาริกา เผยผลวิจัยล่าสุดพบว่า ขนของตัวสลอธ ปรากฎเชื้อแบคทีเรียที่พัฒนาเป็นยาปฏิชีวนะได้ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์พบว่าในขนของสลอธนั้นมีแมลง สาหร่าย เชื้อรา และแบคทีเรียอาศัยอยู่ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์เล็กๆ ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเชื้อโรคได้ โดยกระบวนการสร้างยาปฏิชีวนะยังอยู่ในระหว่างการศึกษาประสิทธิภาพและผลข้างเคียงต่อไป

.

Sources : BBC, Al jarzeer, Japantimes, The Standrad, ThaiPBS, PPTV, Thairath

Exit mobile version