Home Upskill Mindset 6 วิธี เปลี่ยนความล้มเหลวเป็นบทเรียน

6 วิธี เปลี่ยนความล้มเหลวเป็นบทเรียน

ช่วงเวลาที่เราได้เรียนรู้มากที่สุดไม่ใช่ตอนที่เราประสบความสำเร็จ แต่เป็นตอนที่เราก้าวผ่านความล้มเหลวมองย้อนไปดูตอนเราเจอปัญหา เทียบกับตอนนี้ เรามีการเปลี่ยนแปลงตรงไหนบ้าง? #AGENDA อยากชวนทุกคนมาเปลี่ยนความล้มเหลวเป็นบทเรียนผ่าน 6 วิธีนี้

0

ช่วงเวลาที่เราได้เรียนรู้มากที่สุดไม่ใช่ตอนที่เราประสบความสำเร็จ แต่เป็นตอนที่เราก้าวผ่านความล้มเหลวมองย้อนไปดูตอนเราเจอปัญหา เทียบกับตอนนี้ เรามีการเปลี่ยนแปลงตรงไหนบ้าง? #AGENDA อยากชวนทุกคนมาเปลี่ยนความล้มเหลวเป็นบทเรียนผ่าน 6 วิธีนี้

1) ยอมรับความล้มเหลว ว่าเป็นประสบการณ์

[Mindset about Failure]

ความล้มเหลวคือกระบวนการเรียนรู้ และคิดสร้างสรรค์อย่างนึง

อาจดูเป็นเรื่องยากที่จะทำใจยอมรับ เราเสียใจได้ แต่เราต้องทำความเข้าใจว่ามัน

เป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าใครก็เคยทำผิดพลาด เคยล้มเหลวกันมาก่อน

ความล้มเหลวต่างหากที่สอนให้เราเก่งขึ้นและกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้

อย่างที่ J.K. Rowling พูดไว้ว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ชีวิตโดยไม่ล้มเหลวในบางสิ่ง เว้นแต่คุณจะใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังจนเหมือนไม่ได้ใช้ชีวิตเลย และนั่นก็ทำให้คุณล้มเหลวในการใช้ชีวิต

2) มองให้เห็นว่าเรากำลังล้มเหลว

[Detecting Failure]

ในปี 2003 มีเรื่องราวใหญ่โตเรื่องนึงของวงการอวกาศ

นั่นก้คือเกิดการระเบิดของยานอวกาศโคลอมเบีย (Columbia space shuttle)

โดยมีสาเหตุมาจากผู้นำมองข้ามคำเตือนของวิศวกรเรื่องชิ้นส่วนโฟมทางด้านซ้ายของยานเกิดความเสียหายตอนปล่อยยาน ทั้งที่มีทั้งเวลาและวิธีแก้ไข แต่ผู้นำมองไม่เห็นถึงความสำคัญของปัญหา มันจึงไม่ได้รับการแก้ไขและนำไปสู่โศกนาฎกรรมในที่สุด

สื่อถึง การที่เรามองไม่เห็นปัญหาหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

ไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังเผชิญกับความล้มเหลวที่ซ่อนอยู่ (Hidden Failure)

จึงทำสิ่งเดิมๆต่อไปจนปัญหามันรุนแรงขึ้น

เราควรรับฟังหรือให้คนอื่นช่วยค้นหาข้อผิดพลาด ถ้าเรารู้ตัวได้เร็ว เราจะหาทางใหม่ได้ไวขึ้น

3) วิเคราะห์ความล้มเหลว ว่าเกิดจากอะไร?

[Analyzing Failure]

สาเหตุของความล้มเหลวมีหลายปัจจัย ยกตัวอย่างเช่น

ล้มเหลวจากการละเลย เช่น ทำงานผิดพลาด

ล้มเหลวจากความเสี่ยงที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ อย่างในสนามรบ

ล้มเหลวเพื่อการทดลอง ให้ได้องค์ความรู้ใหม่ เช่น การพัฒนาวัคซีน COVID-19

ลองวิเคราะห์ดูว่าที่มาของความล้มเหลวของเราคืออะไร

การรู้ระดับความล้มเหลวตัวเอง จะทำให้เราแก้ไขได้ตรงจุดมากขึ้น

4) ตั้งเป้าหมายของการปรับปรุง

[Experimentation]

เชื่อไหมว่า เครื่องดูดฝุ่นไร้ถุงที่ประสบความสำเร็จของเจมส์ ไดสันเป็นต้นแบบชิ้นที่ 5,127 หลังจากที่ 5,126 ชิ้นก่อนล้มเหลว เขาคือหนึ่งในคนที่ไม่ละความพยายามในการทดลอง

เมื่อพลาดไป ก็ต้องเริ่มใหม่ ตั้งเป้าหมาย

ออกแบบกระบวนการ เหมือนทำการทดลองไปเรื่อยๆ

ยิ่งทดลอง เรายิ่งเข้าใกล้ผลลัพธ์มากขึ้น

5) สร้าง Failure Checklist

[Evaluation]

การสร้างเช็คลิสต์บันทึกสิ่งที่เราได้จากความล้มเหลว

จะช่วยประเมินตัวเรา วัดผลสิ่งที่เราทำ

จดบันทึกไว้ดีกว่าปล่อยผ่านความล้มเหลวไปเฉยๆ

เพราะจะช่วยเตือนไม่ให้เราทำซ้ำอีก

6) สร้างวัฒนธรรมองค์กร พร้อมที่จะล้มเหลว

[Creating learning culture]

ประสบการณ์เป็นสิ่งที่แชร์กันได้ ไม่ว่าจะในกลุ่มเพื่อนหรือระดับองค์กร

ทำไมไม่หาโอกาสสร้างเวทีที่พร้อมจะพูดถึงความล้มเหลว

แบ่งปันเรื่องราวของกันและกัน

ช่วยกันต่อยอดประสบการณ์ให้กลายเป็นประโยชน์ในอนาคต

ที่มา Harvard Business Review

Exit mobile version