Home Upskill 6 เทคนิคพรีเซนต์ให้ปัง ฉบับ Apple

6 เทคนิคพรีเซนต์ให้ปัง ฉบับ Apple

7

ถ้าพูดถึงชื่อ Steve Jobs
เรามักจะนึกถึงเขาว่าเป็นผู้พลิกวงการสมาร์ทโฟน
แต่ความจริงไม่ใช่แค่นั้น
เขายังเป็นผู้พลิกวงการ “Presentation หรือการนำเสนอ” อีกด้วย

ทุกครั้งที่เขาขึ้นเวทีนำเสนอสินค้าตัวใหม่ จะมีเสียงฮือฮาตามมาเสมอ
ด้วยเทคนิคที่ไม่ธรรมดา

แม้ในวันที่ Jobs ไม่อยู่แล้ว เมื่อ Apple เปิดตัวสินค้าใหม่
ก็ยังคงวัฒนธรรมการนำเสนอสไตล์ Apple อยู่
และได้ผลตอบรับที่ดีทุกครั้ง

วันนี้ #Agenda จะมาเผยเคล็ดลับ
จับเทคนิควิธีพรีเซนต์ของ Steve Jobs
ว่าเขานำเสนออย่างไรให้ประทับใจคนดู

1.เขียนแผนนำเสนอ

วางแผนว่าวันนี้จะมาพูดกี่เรื่อง อะไรบ้าง เรียงลำดับการพูดไว้ให้เรียบร้อยก่อนนำเสนอ

จ๊อบส์ใช้วิธีนี้ตอนเปิดตัวไอโฟนครั้งแรก
เขาเปิดด้วยการบอกว่าจะมาพูดถึง 3 สิ่งที่จะปฏิวัติวงการ
จากนั้นพูดถึงคุณสมบัติของไอโฟนทั้งสามอย่าง
ก่อนจบด้วยว่าทั้งสามฟีเจอร์นี้รวมอยู่ในมือถือเครื่องเดียว
การเปิดตัวประสบผลสำเร็จถล่มทลาย

2. หาตัวร้าย

ล่าสุดใน Apple Special Event
ที่เป็นเทรนด์ฮิตในทวิตเตอร์ไปเมื่อวาน
ทีมงานได้โปรโมต Apple watch
โดยนำเสนอ Apple watch เป็นพระเอก
เตือนผู้หญิงที่กำลังจะมีอาการช็อกกระทันหัน
ว่าค่าชีพจรเธอสูงผิดปกติ
ทำให้เธอไปห้องฉุกเฉินได้ทัน
ตัวร้ายในที่นี้คือ อาการป่วยที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน
เธอถึงกับบอกว่าถ้าไม่ได้ Apple Watch คงตายไปแล้ว

3. ทำสไลด์ให้ดูง่าย

1 ภาพแทนตัวอักษรได้เป็นพันคำ
ตอนจ๊อบส์พรีเซนต์ Macbook Air
เขาเอาภาพเดียวขึ้นสไลด์
คือภาพซองเอกสารที่ข้างในเป็น Macbook Air
เพื่อจะสื่อถึงความบางเฉียบของอุปกรณ์
เป็นการนำเสนอที่เรียบง่าย ไม่มี bullet point อะไรทั้งนั้น
แต่ดึงดูดคนดูได้อยู่หมัด

4. สาธิตให้คนดูเห็น

เมื่อคนดูมีส่วนร่วม เขาจะไม่เบื่อ
จ๊อบส์จะสาธิตการใช้งานอุปกรณ์แทบทุกครั้งที่นำเสนอ
เช่น ปี 2007 จ๊อบส์สาธิตการใช้ Google Maps บนไอโฟน
โดยกดค้นหา Starbucks ที่ใกล้ที่สุด
แล้วโทรสั่งกาแฟ 4,000 แก้ว ก่อนจะบอกว่าเล่นมุก
ทำให้คนดูสนุกไปด้วย

5. ใช้ท่าทางช่วยสื่อ

จ๊อบส์แสดงความน่าเชื่อถือผ่านท่าทางตอนนำเสนอ
เขาจะยืนในท่าเปิด สบตาผู้ฟัง
ไม่มีอะไรมากั้นระหว่างเขากับคนดู
และใช้มือประกอบตอนพูด
เพื่อให้สือสารได้ชัดเจน

6. มีจังหวะการพูด

ความเร็ว ระดับเสียง จังหวะ
เป็นส่วนประกอบหลักของการพูด
ที่ช่วยกระตุ้นให้เนื้อหาน่าสนใจ น่าติดตาม
เช่น พูดเร็วขึ้นหรือเพิ่มเสียง
ตอนที่อยากให้คนฟังตื่นเต้น
เบาเสียงหรือพูดช้าลงเวลาเน้นประเด็นสำคัญ
และฝึกเว้นจังหวะ ใช้ความเงียบ
ให้คนดูได้หยุดคิดตาม

Exit mobile version