Home Socieverse ถอดรหัสทางรอดของมหาวิทยาลัย ทำยังไงเมื่อกำลังถูก Disrupt

ถอดรหัสทางรอดของมหาวิทยาลัย ทำยังไงเมื่อกำลังถูก Disrupt

มหาวิทยาลัยมีไว้ทำไม ?
ถ้าไม่สามารถผลิตคนที่ ‘ตอบโจทย์’ การทำงานในอนาคตได้

ใบปริญญายังจำเป็นอยู่หรือไม่?
ในเมื่อภาคเอกชน ‘ไม่ได้ดูใบปริญญา’ เพียงอย่างเดียว 

ภายใน 5 ปี งานเดิมๆ ประมาณ 85 ล้านตำแหน่งทั่วโลกจะหายไป 
ในขณะที่จะเกิดตำแหน่งงานใหม่ 97 ล้านตำแหน่ง 
และส่วนใหญ่ ‘หาคนทำไม่ได้’ เพราะไม่มีคนที่มีทักษะเพียงพอ 

#Agenda ถอดแนวคิดของ รศ.ดร.พิภพ อุดร ที่ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ THE SECRET SAUCE เกี่ยวกับหนทางในการเอาตัวรอดของมหาวิทยาลัย ในยุคที่กำลังถูก Disrupt รอบด้าน 

บอกเลยว่าห้ามพลาด !

มหาลัยต้องเป็น Platform สำหรับทุก Gen

เพราะทุก Gen ต้องการชุดทักษะแห่งอนาคต ความรู้เก่าๆ หมดอายุเร็ว ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้เกิด Life Long Learning เปิดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เกิดการพัฒนาทักษะให้เท่าทันโลก เปลี่ยนจาก Close เป็น Open Platform สำหรับทุกวัย Online For All ตลาดวิชาออนไลน์ เติมทักษะที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

ออกแบบปริญญาของตัวเอง 🎓

อยากเรียนอะไรก็เลือกได้ สร้างหลักสูตรของตัวเองขึ้นมา ทำให้เกิดดีกรีใหม่ๆ เช่น Tiktoker Podcaster ตามที่ผู้เรียนต้องการอย่างแท้จริง การเรียนรู้ไร้กำแพง อยากจะเรียนที่ไหน เรียนเมื่อไรก็ได้ ออกแบบการเรียนตามความต้องการของตัวเอง ไม่ต้องเรียนมหาวิทยาลัยก็จบปริญญาได้ ทำระบบ Credit Bank ไว้สะสมหน่วยกิต เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้

สร้าง Sandbox เป็นพื้นที่แห่งโอกาส 🦄

พื้นที่สร้าง Ecosystem สำหรับสตาร์ทอัพและนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างโปรเจค หรือ ธุรกิจใหม่ๆ ที่ทำให้สังคมดีขึ้น เปิดกว้างสำหรับทุกคน ไม่จำกัดเพศ อายุ อาชีพ ศาสนา และสถานศึกษา ทลายกำแพงต่างๆ เป็นพื้นที่แห่งโอกาสของทุกคน ลด Burden เพิ่ม Benefit นำผลลัพธ์มาเทียบโอนเป็นหน่วยกิต ทำให้เรื่องเรียนและการทำธุรกิจเรื่องเดียวกัน สนับสนุนการลงมือทำจริง

สลายกำแพงคณะและภาควิชา 🏫

สลายกำแพงคณะ เรียนรู้ได้หลากหลายสาขาวิชา นำความรู้มาบูรณาการ อาจารย์สามารถทำงานข้ามคณะ นำศาสตร์มาต่อยอด ทำให้กาเรียนจะไม่ยึดติดกับอาจารย์เพียงคนเดียวอีกต่อไป ผู้เรียนได้ทดลองเรียนหลากหลายศาสตร์ที่ตัวเองสนใจ หาคำตอบให้กับตัวเองว่าชอบอะไร

มหาลัย หรือหน่วยงานรัฐต้อง Re-Learn 🤔 

มหาวิทยาลัยและองค์กรต้องคิดแบบ Best-Case Senario เพื่อให้เกิดความกล้าที่จะสนับสนุนโปรเจ็คใหม่ ๆ พร้อมทั้งเปลี่ยนบทบาทของอาจารย์เป็น Facilitator เปลี่ยนห้องเรียนแบบเดิมๆ ให้เกิดการตั้งคำถาม นำไปสู่ Critical Thinking ลดกลไกกำกับดูแล เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการพัฒนา

Exit mobile version