Home Social ทั่วโลกเปิดศึกชิง ‘คนเก่ง (Talents)’ ประเทศไทยทำอะไรอยู่?

ทั่วโลกเปิดศึกชิง ‘คนเก่ง (Talents)’ ประเทศไทยทำอะไรอยู่?

0

อยากไปดวงจันทร์?

อยากให้บริษัทระดับโลกมาเปิดสำนักงาน?

อยากให้รถยนต์ไฟฟ้ามาตั้งโรงงานผลิต?

ถ้าอยากเห็นทั้งหมดนี้ในไทย

นอกจากสภาพแวดล้อมอื่น ๆ แล้ว

ตลาดแรงงานก็ต้องพร้อมที่จะรองรับด้วย

เพราะในตอนนี้ ทั่วโลกหันมาแข่งขันกัน ด้วยนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ใครมีนวัตกรรมใหม่ก่อน ก็ชนะ

ศักยภาพในการแข่งขันใครพร้อมกว่า ก็ชนะ

ทรัพยากรที่สำคัญและขาดไม่ได้ในศึกนี้

ก็คือ แรงงานทักษะสูง หรือ Talent

ซึ่งจะมาเติมเต็มอุตสาหกรรมต่าง ๆ

ด้วยทักษะ ความรู้ และความสามารถ

และหนทางที่แต่ละประเทศจะสร้างกลุ่มคนเก่งขึ้นมาได้

ก็คือการพัฒนาระบบการศึกษา

พัฒนาทรัพยากรคนในประเทศ

ให้ตอบโจทย์อุตสาหกรรมที่ต้องการได้อย่างเพียงพอ 

และทันกับเวลา ที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการแข่งขัน 

จนในตอนนี้เกิดเป็น ‘สงครามการแย่งชิงคนเก่ง (War for Talent)’ ระหว่างประเทศ 

#AGENDA ชวนมาติดตามศึกนี้กัน

ว่าแต่ละคนทุ่มเทอะไรบ้าง เพื่อดึงดูดคนเก่งเข้าประเทศ

————

สหรัฐอเมริกา

– หวังชนะสงครามเทคโนโลยีกับจีน

สหรัฐฯ และจีน นอกจากจะมีสงครามทางการค้าระหว่างกันแล้ว

อีกเรื่องที่เกี่ยวเนื่องก็คือ สงครามด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2,5)

ยิ่งเทคโนโลยีก้าวหน้า

ตำแหน่งมหาอำนาจของโลกก็ยิ่งมั่นคง

สหรัฐฯ จึงกลัวที่จะเสียตำแหน่งผู้นำเทคโนโลยีให้กับจีน

เพราะจีนเองก็กำลังเร่งพัฒนาความรู้ ทักษะ และอุตสาหกรรมในด้านนี้ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้สหรัฐฯ ก็มีข้อได้เปรียบ

ตรงความสามารถในการดึงดูด Talents อยู่ที่อันดับ 1 ของโลก (1)

และสถานที่ที่เป็นเหมือนจุดยุทธศาสตร์สำคัญ

ก็คือ Silicon Valley

แหล่งรวมบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกและหัวกะทิเอาไว้จำนวนมาก จนกลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดเหล่า Talent  

และ 2 ใน 3 ของแรงงานที่นี่ ก็เป็นชาวต่างชาติ (6) 

ปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของ Silicon Valley 

ก็คือการมีการศึกษาที่ ‘ฟรี’ และ ‘มีคุณภาพ’

เพราะการจะเข้าเรียนที่โรงเรียนเทศบาลของที่นี่

ครอบครัว Talents จะต้องมาอาศัยอยู่ในแถบนี้เท่านั้น

และ Silicon Valley จะเก็บภาษีที่อยู่อาศัย

เพื่อนำมาพัฒนาโรงเรียน ห้องสมุดสาธารณะ และสนามกีฬา

กลยุทธ์นี้ทำให้เมืองและรัฐต่าง ๆ 

พยายามสร้างมาตรฐานโรงเรียนเพื่อดึงดูดครอบครัวที่ดีเข้ามาตั้งถิ่นฐานด้วยเช่นกัน

อีกมูฟเม้นที่สำคัญของอเมริกาก็คือ

โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ

ได้ยกเลิกคำสั่งของอดีตประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ 

ที่มีผลระงับการออกวีซ่า

และกระทบต่อแรงงานกลุ่มทักษะเทคโนโลยีกว่า 65,000 ตำแหน่ง (3,7) 

การกลับมาอนุญาตวีซ่าในครั้งนี้

จะเปิดทางให้แรงงานต่าง ๆ ทุกระดับทักษะ

หลั่งไหลเข้ามาเติมเต็มตลาดแรงงานของสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง

————

จีน

– เป็นผู้นำทางวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีระดับโลกภายใน 2050

นอกจากการเป้าหมายในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการค้าแล้ว 

และเป้าหมายสำคัญของจีนก็คือการพัฒนาเทคโนโลยีทางทหารด้วย

จีนจึงต้องการคนมีทักษะความสามารถเป็นจำนวนมาก

นโยบายสำคัญของจีนคือ คือการออกวีซ่า 5-10 ปี 

สำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษที่เข้ามาทำงานในจีนด้วย (10)

โดยสามารถเข้าออกจีนได้หลายครั้ง แต่ละครั้งอยู่ได้นานถึง 180 วัน

พร้อมตั้งโครงการ เพื่อดึง Talents กว่า 200 โครงการ

เช่น โครงการ TTP มีการว่าจ้างนักวิจัยกว่า 7,000 ตำแหน่ง (5) 

นอกจากนี้ จีนยังผลักดัน Slilicon Valley ของตัวเอง

เช่น การสร้าง Hub Technology ที่เซินเจิ้น (9)

ปั้นเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งชาตินครฉางซา (8)

ธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดย Talent ในเขตพัฒนาแห่งนี้

จะได้รับเงินอุดหนุนโครงการมูลค่าสูงสุด 10 ล้านหยวน

และเงินค่าเช่า 900,000 หยวน 

หรือเงินอุดหนุนสถานที่ทำธุรกิจ 1 ล้านหยวน

โดย Talent ต่างชาติเหล่านี้

ยังสามารถพักอาศัยในชุมชนชาวต่างชาติได้ฟรี

และถ้าผู้มีความสามารถระดับสูง

ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือค่าที่อยู่อาศัยสูงสุดถึง 2 ล้านหยวน

รัฐยังช่วยอุดหนุนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ที่จ่ายเกิน 15% แบบเต็มจำนวนอีกด้วย

และเพื่อลด ‘ภาวะสมองไหล’ (Brain Drain)

คือภาวะที่คนเก่งไหลออกไปทำงานต่างประเทศ

จีนถึงกับออกนโยบายสำหรับคนจีนกลุ่มนี้ว่า

ถ้ากลับเข้ามาทำงาน จะยอมให้ถือ 2 สัญชาติได้ (6)

————

สิงคโปร์

– สู่ศูนย์รวม Talents ด้านเทคโนโลยี

นอกจากจะสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการลงทุนแล้ว (17)

กลยุทธ์สำคัญของสิงค์โปร์

คือการการันตี PMWP (Place, Money, Welfare, Position) 

ได้แก่ การเตรียมที่อยู่ของ Talent และครอบครัว

ให้ค่าจ้างและสวัสดิการที่ดี

และตำแหน่งงานรองรับที่เพียงพอ (4)

ให้สิทธิในการเป็นพลเมืองสิงคโปร์ 

และเสนอส่วนลดและผลประโยชน์ทางภาษี (15)

ออกวีซ่า Tech.Pass ให้ต่างชาติเข้ามา

ทำธุรกิจ ลงทุน ตั้งบริษัท หรือทำงานไอทีได้

โดยกำหนดหลักเกณฑ์ (14) ว่า 

– ต้องมีรายได้/เดือน 445,000 บาท

– หรือมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 5 ปี ในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก (มูลค่าอย่างน้อย 500 ล้านเหรียญสหรัฐ)

– หรือมีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี ในการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีผู้ใช้เกิน 100,000 รายต่อเดือนหรือมีรายได้อย่างน้อย 100 ล้านเหรียญต่อปี 

การคัดคนเก่งไอทีระดับเทพเข้าประเทศ

ทำให้สิงคโปร์ ดึงดูดบ.เทคโนโลยีระดับโลกได้มากมาย (16)

————

มาเลเซีย

จะเป็นศูนย์กลางคนเก่งของอาเซียน

‘ภาวะสมองไหล’ คนเก่งไปทำงานต่างประเทศ

จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบจัดหา Talents เข้าประเทศโดยตรง

พร้อมตั้งศูนย์ดูแล 24 ชั่วโมง (MYXpats) (6)

โดยมีนโยบายให้วีซ่า Residence Pass – Talent (RP-T)

ระยะเวลา 10 ปี โดยมีหลักเกณฑ์ว่า

ต้องทำงานมานานเกิน 3 ปี

หรือได้รับค่าจ้างราว ๆ 113,938 บาท/เดือน (18)

มาเลเซียมีนโยบายทางภาษีสำหรับ Talents

และโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากร Talents กับต่างประเทศด้วย (6)

————

แล้วประเทศไทยทำอะไรเพื่อดึงดูดคนเก่ง

หรือแรงงานทักษะสูงเข้าประเทศบ้าง?

ไทย

– แรงงานต่างชาติเยอะ แต่สัดส่วน Talents น้อย

จากข้อมูลในปี 2017 พบว่า

ไทยเปิดรับแรงงานต่างชาติมากที่สุดในอาเซียน 

ซึ่งมากถึง 3.6 ล้านคน

แต่กลับเป็นแรงงานมีทักษะเพียง 1.5 แสนคนหรือ 0.4% (6) 

ทำให้โดยรวมแล้ว เรายังขาดแคลนแรงงานทักษะสูง

โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม S-Curve

ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ 

และเพื่อแก้ปัญหานี้

รัฐบาลได้ออก SMART Visa (11)

วีซ่าประเภทพิเศษที่กำหนดขึ้นมาเพื่อดึงดูดบุคลากรทักษะสูงและนักลงทุน

ให้เข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

Visa มีอายุสูงสุด 4 ปี

โดยผู้ขอ Visa กลุ่ม Talent จะต้องมีรายได้อย่างน้อยเดือนละ 100,000 บาท

มีสัญญาการทำงานอย่างน้อย 1 ปี

และยังครอบคลุมคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ของผู้ได้รับสิทธิ SMART Visa ด้วย

แต่มีกำหนดให้รายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยทุก 1 ปี 

เชื่อมโยงกับการสนับสนุน ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกของไทย หรือ EEC

ผ่านโครงการ “ซิลิคอน วัลเลย์ ไทยแลนด์” หรือ “ดิจิทัล พาร์ค ไทยแลนด์” (12)

ด้วยการพยายามเจรจาผ่านทูตสหรัฐ 

ว่าควรจะมีการจัดตั้ง Thai-American Silicon Valley ร่วมกัน (13)

ที่มา: 

(1) Adecco Group. (2020). GTCI Report 2020 – Global Talent in the Age of Artificial Intelligence. GTCI Report 2020. https://gtcistudy.com/

(2) Namjatturas. (2018). การแข่งขันด้าน AI ระหว่างสหรัฐและจีน สรุปแล้วใครเหนือกว่า? Techsauce. https://techsauce.co/saucy-thoughts/ai-powerhouses-a-spotlight-on-the-us-china

(3) Michelle Hackman (2020). Trump Moves to Temporarily Suspend New H-1B, Other Visas Amid Covid-19 Pandemic. The Wall Street Journal.

(4) สุดารัตน์ โยธาบริบาล. (2557.). สิงคโปร์กับสงครามการแย่งชิงคนเก่งทั่วโลกสู่ “ศูนย์กลางคนเก่งสิงคโปร์” : บทเรียนและความท้าทายสู่แนวทางการสร้าง “ศูนย์กลางคนเก่งภาครัฐไทย” ในบริบทอาเซียน

(5) PERMANENT SUBCOMMITTEE ON INVESTIGATIONS & Committee on Homeland Security and Governmental Affairs. (2019). Threats to the U.S. Research Enterprise: China’s Talent Recruitment Plans. United States Senate. https://www.hsgac.senate.gov/imo/media/doc/2019-11-18%20PSI%20Staff%20Report%20-%20China%27s%20Talent%20Recruitment%20Plans.pdf

(6) อัศวชัยโสภณ, & ลีพิพัฒน์ไพบูลย์. (2018). เมื่อโลกกำลังทำสงครามแย่งชิงคนเก่ง ประเทศไทยทำอะไรอยู่. ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย. https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_30Oct2018.aspx

(7) Rachata, S. (2021, February 26). Biden ยกเลิกคำสั่งระงับวีซ่าของ Trump. Brand Inside. https://brandinside.asia/biden-reverse-trumps-visa-ban/

(8) Xinhua Silk Road Information Service. (2021, March 23). Changsha National Economic and Technological Development Zone in C. China’s Hunan unveils multiple measures to attract talents worldwide – Xinhua Silk Road. https://en.imsilkroad.com/p/320456.html

(9) W. (2017, December 21). ถอดยุทธศาสตร์ “เซินเจิ้น” พลิกโฉมจากเมืองของก๊อป ยกระดับสู่ “Silicon Valley of Asia.” Brand Buffet. https://www.brandbuffet.in.th/2017/12/shenzhen-silicon-valley-of-asia/

(10) จีนเริ่มออกวีซ่าพิเศษแก่ชาวต่างชาติความสามารถสูง รวม “ผู้เชี่ยวชาญไทย.” (2018, March 4). VoiceTV. https://voicetv.co.th/read/r1Lb7f_dM

(11) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2018). SMART Visa. https://smart-visa.boi.go.th/

(12) ลม เปลี่ยนทิศ. (2017, March 15). ซิลิคอน วัลเลย์ ไทย. www.thairath.co.th. https://www.thairath.co.th/news/885186

(13) “สมคิด” ชงตั้ง “ไทย-สหรัฐ ซิลิคอนวัลเลย์” ใน EEC ให้สิทธิพิเศษ. (2020, July 4). ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. https://www.prachachat.net/general/news-486473

(14) Bangkok Post Public Company Limited. (2020). Singapore to introduce new visa to draw top global tech talent. Https://Www.Bangkokpost.Com. https://www.bangkokpost.com/business/2018411/singapore-to-introduce-new-visa-to-draw-top-global-tech-talent

(15) Hawksford https://sgp.hawksfordcdn.com/business-guides/taxation-and-accounting

(16) สิงคโปร์ศูนย์กลางด้าน FinTech แห่งอาเซียน. (2019). BANGKOKBANK SME. https://www.bangkokbanksme.com/en/fintech-singapore

(17) สิงคโปร์ยังคงเป็นประเทศที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจมากที่สุดในโลก ฟิลิปปินส์ติดหนึ่งในสิบประเทศที่พัฒนาการปรับปรุงกฎเกณฑ์และเงื่อนไขทางธุรกิจมากที่สุด. (2013, October 28). World Bank.https://www.worldbank.org/th/news/press-release/2013/10/28/singapore-business-friendly-economy-world-philippines-top-ten-improving-business-regulation

(18) Residence Pass-Talent by TalentCorp | Home. (2021). Malaysia Expatriate Talent Service Centre (MYXpats Centre). https://rpt.talentcorp.com.my/

Exit mobile version