เปิดลิสต์ ส.ส.รั้วธรรมศาสตร์ ในสนามการเมือง ปี 66 : อะไรทำให้คนธรรมศาสตร์มักอยู่กับการเมือง?

Highlight

หากพูดถึงมหาวิทยาลัยที่สร้างผู้นำในระดับโลก เรามักจะนึกถึง Harvard, Stanford หรือ Berkley ที่จากข้อมูลของ Resume.io ในเดือนธันวาคมปี 2022 ระบุว่า จำนวนศิษย์เก่าจากทั้งสามสถาบันที่ดำรงตำแหน่งผู้นำองค์กร บริษัท หรือแม้แต่ผู้นำประเทศ มีจำนวนรวมกันมากกว่า 1 แสนคน

.

ในขณะที่มหาวิทยาลัยที่ผลิตผู้นำทางการเมืองของไทย จะนึกถึงใครไปไม่ได้นอกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยที่ผ่านมาไทยมีนายกรัฐมนตรีที่เป็นศิษย์เก่าและคณาจารย์จากธรรมศาสตร์ไปแล้วถึง 11 คน จากนายกรัฐมนตรีของไทยทั้งหมด 29 คน และจากผลการเลือกตั้งฯ ล่าสุด ยังถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีส.ส. จบการศึกษามากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

.

ธรรมศาสตร์ทำอะไร ถึงสร้างผู้นำทาง ‘การเมือง’ มากที่สุด? 

#AGENDA สรุปมาให้แล้ว

.

Thammasat Spirit – คุณลักษณะที่สำคัญของนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ค่านิยมที่ปลูกฝังให้ยึดถือประโยชน์ของสังคม เสรีภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการสถาปนามหาวิทยาลัย ที่ต้องการส่งเสริมแนวคิดที่ว่า “ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน”

.

วิชา กิจกรรม แนวคิดที่สร้างคนแห่งอนาคต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ อย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อทุกคน เช่น วิชา TU 100 ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง สอดคล้องกับแนวคิด GREATS ที่ฝึกฝนให้นักศึกษาทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้จริง

.

Alumni Leader – ศิษย์เก่าที่เป็นแบบอย่าง เป็นผู้นำทางการเมือง และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ 

ซึ่งยังมีการสร้างปฎิสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธรรมศาสตร์เป็นพื้นที่สำหรับทุกคน โดยมีศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในชีวิตไปแล้วมากมาย กลายเป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษารุ่นน้อง อีกทั้งกลับมาช่วยเหลือกิจกรรมของมหาวิทยาลัย สร้าง Ecosystem เพื่อถ่ายทอดแนวคิดและวิธีการทำงาน การใช้ชีวิต ให้กับศิษย์ปัจจุบัน แสดงถึงความรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น คุณชวน หลีกภัย ส.ส.จากพรรคประชาธิปัตย์ และคุณรังสิมันต์ โรม ส.ส.จากพรรคก้าวไกล

.

ศูนย์กลางแห่งเสรีภาพในการแสดงออก – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นศูนย์กลางในการแสดงออกของนักศึกษาอย่างเสรี โดยที่นักศึกษาได้มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จุดประกายความเปลี่ยนแปลงในทุกยุคสมัย เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ เป็นพื้นที่แห่งความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันเรื่องลาคลอดโดยศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ การเรียกร้องทางประชาธิปไตย เป็นต้น

.

ทั้งนี้ การแสดงออกผ่านการทำกิจกรรมของนักศึกษาหลายคน ก็มีพื้นเพมาจากการเข้าร่วมชมรมในธรรมศาสตร์ เช่น ส.ส.เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ที่ได้ไอเดียนโยบายสุราก้าวหน้า จากการเข้าค่ายสร้างของธรรมศาสตร์ หรือ ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ก็ได้เข้าร่วมปฐมนิเทศ และเห็นความตื่นตัวทางการเมือง รวมทั้งได้เข้าเรียนวิชาเหล่านี้ เกิดเป็นแรงผลักดันที่อยากเข้าสู่การเมืองในระดับชาติต่อไป

.

โดยจากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 500 คน

มี ส.ส. ที่เคยศึกษาอยู่ในรั้วธรรมศาสตร์และได้รับเลือกตั้งในครั้งนี้

เป็นจำนวน 53 คน หรือคิดเป็น 10.6% เลยทีเดียว

.

แล้ว 5 อันดับคณะ ที่ ส.ส. เคยเป็นศิษย์เก่ามากที่สุด มาจากคณะไหนบ้าง มาดูกัน

.

1. คณะนิติศาสตร์ มีศิษย์เก่าที่เป็น ส.ส. จำนวน 18 คน เช่น

นายชวน หลีกภัย พรรคประชาธิปัตย์

นายรังสิมันต์ โรม พรรคก้าวไกล

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค พรรครวมไทยสร้างชาติ

นางสาวขัตติยา สวัสดิผล พรรคเพื่อไทย

นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร พรรคก้าวไกล

.

2. คณะรัฐศาสตร์ มีศิษย์เก่าที่เป็น ส.ส. จำนวน 9 คน เช่น

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ พรรคประชาธิปัตย์

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ พรรคภูมิใจไทย

นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล พรรคก้าวไกล

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน พรรคเพื่อไทย

นายรอมฎอน ปันจอร์ พรรคก้าวไกล (ปริญญาโท)

.

3. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มีศิษย์เก่าที่เป็น ส.ส. จำนวน 6 คน เช่น

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคก้าวไกล

นายอนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย

นายนพ ชีวานันท์ พรรคเพื่อไทย

นายภราดร ปริศนานันทกุล พรรคภูมิใจไทย

นางสว่างจิตต์ เลาหะโรจนพันธ์ พรรคก้าวไกล

.

4. คณะเศรษฐศาสตร์ มีศิษย์เก่าที่เป็น ส.ส. จำนวน 5 คน เช่น

นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล พรรคก้าวไกล

นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล พรรคก้าวไกล

นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล พรรคก้าวไกล

นายรวี เล็กอุทัย พรรคเพื่อไทย

นายประภัตร โพธสุธน พรรคชาติไทยพัฒนา

.

5. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีศิษย์เก่าที่เป็น ส.ส. จำนวน 3 คน เช่น

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ พรรคเพื่อไทย

นายธนยศ ทิมสุวรรณ พรรคภูมิใจไทย

นายณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ พรรคก้าวไกล

.

นอกจากนี้ยังมีศิษย์เก่าที่มาจากคณะอื่นๆ ในรั้วธรรมศาสตร์อีกมากมาย เช่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  คณะศิลปศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน และคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา เป็นต้น

.

เห็นได้ว่ามี ‘ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์’ หลายคนที่ได้รับโอกาสให้ทำหน้าที่ ส.ส. ในการเลือกตั้งครั้งนี้ หลายคนจึงคาดหวังให้ ส.ส. เหล่านี้เข้าไปทำงานอย่างเต็มศักยภาพ ผลักดันและส่งเสริมนโยบายสร้างสรรค์ ที่พัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ให้สมกับคะแนนเสียงที่ได้รีบเลือกตั้งเข้าไปนั่นเอง

.

Sources : hris.parliament.go.th, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Popular Topics