เปรียบเทียบความพร้อม ‘เปิดประเทศ’ นโยบายแต่ละประเทศเป็นอย่างไรบ้าง ?

Highlight

นับถอยหลัง 1 พ.ย. 64 “เปิดประเทศ” ไทยพร้อมแค่ไหน ?

ใกล้เข้ามาแล้วกับ ‘ดีเดย์’ #เปิดประเทศ ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างเป็นทางการของไทย หลังจากที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เมื่อคืนวันจันทร์ ที่ 11 ตุลาคม 64 ที่ผ่านมา

เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ได้กำลังคลี่คลายลง จึงต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กระตุ้นภาคธุรกิจรายย่อยให้มีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ซึ่งสอดคล้องกับหลายประเทศทั่วโลก เริ่มวางแผนที่จะเปิดประเทศให้ทันสิ้นปี 2021 นี้ เพื่อหวังว่าในฤดูกาล ‘high season’ ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จะสร้างเม็ดเงิน กระตุ้นเศรษฐกิจ 

หลังจากซบเซาต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ละประเทศก็มีมาตรการแตกต่างกัน และวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอย่างระมัดระวัง

#AGENDA เปรียบเทียบแนวทาง “เปิดประเทศ” ของประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวแต่ละประเทศเป็นอย่างไรบ้าง มาดูกัน!

1. ไทย

สัดส่วนฉีดวัคซีนประชากร (ครบโดส) : 35 %
จำนวนผู้ติดเชื่อเฉลี่ย : ประมาณ 10,000 คน/วัน
(สถิติ ต.ค. 64)

ประเทศไทยประกาศเริ่ม ‘เปิดประเทศ’ อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 64 นี้เป็นต้นไป ในช่วงแรก จะเปิดเมืองในจังหวัดท่องเที่ยวก่อน เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี ก่อนค่อย ๆ ขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศต่อไปภายในปี 65 ซึ่งคาดว่าประเทศจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่เรียบร้อยแล้ว


– เฟส 1 เดือน พ.ย. 64 เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศความเสี่ยงต่ำ นำร่อง 10 ประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐฯ เยอรมัน จีน สิงคโปร์ (ยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการ) นักเดินทางต้องฉีดวัคซีนครบโดส และมีผลตรวจ RT-PCR เป็นลบ จากประเทศต้นทางและเมื่อเข้ามาถึงประเทศไทย จึงจะสามารถเดินทางเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัว

– เฟส 2 เดือน ธ.ค. 64 จะผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคในร้านอาหาร เปิดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถนั่งกินที่ร้านได้ เพื่อกระตุ้นนักท่องเที่ยว และทยอยเพิ่มรายชื่อประเทศเสี่ยงต่ำต่อไป

อย่างไรก็ดี มาตรการเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ ยังไม่มีการประกาศออกมา เช่น เรื่องการควบคุมโรค การยกเลิกเคอร์ฟิว ทำให้ประชาชนยังคงต้องสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และหลีกเลี่ยงการเดินทางในพื้นที่เสี่ยงอยู่

2. สิงคโปร์

.

สัดส่วนฉีดวัคซีนประชากร (ครบโดส) : 82 %

จำนวนผู้ติดเชื่อเฉลี่ย : ประมาณ 3,000 คน/วัน

(สถิติ ต.ค. 64)

.

สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบการจัดการสถานการณ์โควิด-19 ดีที่สุดประเทศหนึ่ง ทั้งการควบคุมผู้ติดเชื้อ การจัดการวัคซีน และกำลังมีแผนจะเปิดประเทศอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี 2564 โดยสนับสนุนให้ประชาชนออกมาใช้ชีวิตปกติ ภายใต้คอนเซปต์ ‘new normal’ 

การเปิดประเทศของเริ่มต้นด้วยโครงการ “Vaccinated Travel Lane” คือ โครงการให้นักท่องเที่ยวและนักเดินทางที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว เข้าประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัว ล่าสุด เพิ่มอีก 8 ประเทศ ได้แก่ แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน อังกฤษ และสหรัฐฯ (ยังไม่รวมไทย) ก่อนหน้านี้เดือน มิ.ย. อนุญาติไปแล้ว 2 ประเทศ คือ บรูไนและเกาหลีใต้
.
นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังเริ่มใช้ยุทธศาสตร์ “ใช้ชีวิตร่วมโควิด” แล้ว โดยทำการสื่อสารกับประชาชนว่าจะไม่พยายามควบคุมให้จำนวนผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ แต่สร้างความเข้าใจว่าโควิด-19 ในสิงคโปร์ กำลังเข้าสู่สภาวะเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งผู้คนจะยังต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโรคอีกนาน  

.

เมื่อช่วงต้นเดือน ต.ค. 64 เกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่อีกครั้ง มีผู้ติดเชื้อกว่า 3,000 คน แต่ทางการยังคงยังคงเดินหน้าเปิดประเทศ และประกาศให้ประชาชนเชื่อมั่น ว่ารัฐบาลยังควบคุมสถานการณ์ได้ดี รวมทั้งวางแผนเตรียมการไว้เป็นอย่างดี หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน จะมีการ “แตะเบรก” การเปิดประเทศทันที

.
ถือเป็น แนวทางต้นแบบของการเปิดประเทศหลังโควิด-19 จัดสมดุลระหว่างการเปิดเมืองเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจกับการป้องกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสาธารณสุขได้อย่างดี

3. สหรัฐอเมริกา

.

สัดส่วนฉีดวัคซีนประชากร (ครบโดส) : 57 %

จำนวนผู้ติดเชื่อเฉลี่ย : ประมาณ 83,000 คน/วัน

(สถิติ ต.ค. 64)

รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศยกเลิกมาตรการจำกัดการเดินทางสำหรับนักท่อเที่ยวใน 33 ประเทศที่ฉีดวัคซีนครบโดส ไม่ต้องกักตัว เริ่มต้นในวันที่ 8 พ.ย. 64 เป็นต้นไป ทั้งนี้ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสจะต้องมีผลตรวจโควิดเป็นลบก่อนเดินทาง 72 ชั่วโมง รวมประเทศไทยด้วย

เบื้องต้น ทางการสหรัฐฯ จะแบ่งการผ่อนคลายนโยบายการเดินทางเข้าประเทศเป็น 2 ระยะ

เฟส 1 เดือน พ.ย. 64 จะผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าออกทางอากาศ โดยสายการบินจะได้รับอนุญาตให้สามารถเก็บข้อมูลผู้เดินทางและนักท่องเที่ยว กรณีตรวจพบว่าติดเชื้อเพื่ออำนายความสะดวกจัดการระบบติดตามตัวในอนาคต
.
เฟส 2 ยังไม่กำหนดเวลาชัดเจน แต่จะเป็นการผ่อนคลายการเดินทางทางบก สำหรับการเดินทางเข้า-ออกประเทศในกลุ่มประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับสหรัฐฯ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวสามารถไปมาหาสู่กันได้เป็นปกติ
.
สหรัฐฯ ยังคงประสบปัญหาประชาชนราว 70 ล้านคนปฏิเสธการเข้ารับวัคซีน ด้วยเหตุผลแตกต่างกันไป ซึ่งภาครัฐก็มีความพยายามส่งเสริมการฉีดวัคซีน ทั้งการแจกสิ่งของ การมอบเงินสนับสนุน การแจกรางวัลเพื่อกระตุ้นจำนวนผู้ที่ฉีดวัคซีน
.
ทั้งนี้แม้สัดส่วนประชากรผู้ฉีดวันซีนเกิน 50 % ไปได้ไม่นานเท่าไรนัก แต่ ประธานธิบดีโจ ไบเดน ก็เชื่อมั่นจะตั้งเป้าว่าจะพาสหรัฐกลับสู่สภาวะปกติได้ และชูจุดแข็งในการต้อนรับนักเดินทางต่างชาติให้สามารถเข้ามาฉีดวัคซีนในสหรัฐฯ ได้

4. อังกฤษ

.

สัดส่วนฉีดวัคซีนประชากร (ครบโดส) : 67.5 %

จำนวนผู้ติดเชื่อเฉลี่ย : ประมาณ 35,000 คน/วัน

(สถิติ ต.ค. 64)

อังกฤษเริ่มวางแผนเปิดประเทศมาตั้งแต่ 19 ก.ค. 64 เรียกวันปลดล็อกว่า “Freedom Day” หลังจากที่มีการล็อกและคลายล็อกอยู่หลายครั้ง 

เกณฑ์พิจารณาเปิดประเทศมี 4 ข้อ ได้แก่ การให้วัคซีนแก่ประชาชน ประสิทธิภาพวัคซีน อัตราผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และการรับมือเชื้อกลายพันธ์ชนิดใหม่ รัฐบาลตระหนักว่า โรคระบาดคงไม่ยุติลง จึงต้องผลักดันในประชาชนอยู่ร่วมกับโรคอย่างระมัดระวัง

เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 64 ที่ผ่านมา อังกฤษปลด 47 ประเทศออกจากกลุ่มบัญชีแดง รวมถึงไทย เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวจากประเทศต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปีที่กำลังจะมาถึง 

ซึ่งผู้ที่จะเดินทางเข้าอังกฤษ รวมถึงสกอตแลนด์ เวลส์ หรือไอร์แลนด์ ไม่ต้องกักตัว จะต้องฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส และเป็นยี่ห้อวัคซีนที่ WHO และ EU รับรอง รวมถึงสูตรไข้แต่ต้องเป็น 2 ใน 4 ยี่ห้อที่รับรอง และมีใบรับรองผลการตรวจจากประเทศต้นทาง

นโยบายภายในประเทศ ได้มีการถอดกฎหมายบังคับใส่หน้ากากอนามัย และการเว้นระยะห่าง คลายล็อคดาวน์ และไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่แออัด ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงป้องกันตัวเอง เนื่องจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตยังสูงอยู่

สำหรับผู้ที่เข้าประเทศ จำเป็นต้องเช็กอินแอป NHS Covid-19 ก่อนใช้บริการร้านค้า ร้านอาหาร เป็นระบบติดตามเมื่อเกิดคลัสเตอร์ในประเทศ

ปลายปีนี้ ยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังทยอยเปิดประเทศต้อนรับนักเดินทางและนักท่องเที่ยว โดยหวังจะให้การท่องเที่ยวช่วยฟื้นวิกฤตเศรษฐกิจจากโรคระบาด ซึ่งต้องต้องติดตามรายละเอียดอย่างใกล้ชิด

ที่มา : BBC, CNN, WorkPointToday, PPTV, ไทยรัฐออนไลน์, กรุงเทพธุรกิจ, ประชาชาติธุรกิจ

Popular Topics