รำลึก 47 ปี 14 ตุลา 2516 ทำไม ’14 ตุลาฯ’ ถึงเป็นชัยชนะของประชาธิปไตย?

Highlight

รำลึก 47 ปี 14 ตุลา 2516 ชัยชนะของคนเบื่อรัฐบาลทหาร

ชนวนสำคัญ 14 ตุลา 2516 เกิดขึ้นได้อย่างไร?

– รัฐประหารซ้ำซ้อน

ทหารปกครองยาวนานเกือบ 16 ปี
นอกจากการสืบทอดอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และการรัฐประหารตัวเองของจอมพลถนอม จนต่ออายุการปกครองของรัฐบาลทหารให้ต่อเนื่องยาวนานเกือบ 16 ปี

– บันทึกลับจากทุ่งใหญ่

29 เมษายน 2516 เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกตกที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 คน และพบซากสัตว์ป่าขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก ส่อถึงการล่าสัตว์ป่าในทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ทางรัฐบาลกลับอ้างว่า เป็นการเข้าไปปฏิบัติราชการลับ ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากในกลุ่มประชาชน

– วิกฤตการณ์น้ำมันโลก

วิกฤตการณ์น้ำมันโลกที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ที่แพงขึ้น รวมไปถึงค่ารถโดยสารประจำทางที่แพงขึ้น รอบน้อยลง จึงส่งผลกระทบต่อปากท้องของประชาชน โดยที่ไม่มีท่าทีว่ารัฐบาลจะแก้ไขได้

ประกอบกับ

ความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารราชการ
ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ
ข้าวยากหมากแพง
การใช้อภิสิทธิ์ เล่นพรรคเล่นพวก

ชนวนต่างๆ เหล่านี้ พาเอาผู้คนเบื่อหน่ายการปกครองแบบทหารๆ

ทำให้เกิดการรวมตัวกันมากขึ้นเรื่อยๆ ของนิสิต นักศึกษา ประชาชน
มีผู้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องรัฐธรรมนูญถูกจับกุม 13 คน
โดยถูกแจ้งข้อหากบฏและมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
จนในที่สุดก็เกิดการชุมนุมใหญ่ รวมตัวกันกว่า 5 แสนคน
และมีการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

ก่อนเหตุการณ์จะสงบลงจากการลาออกของจอมพลถนอม
และประกาศโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ต่อมาได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่งของไทย

นับจากนั้นมาวันที่ 14 ตุลาคมของทุกปี จึงถือเป็น “วันประชาธิปไตย” เนื่องจากมีการเรียกร้องรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ

น่าเศร้าที่อีกเพียงแค่ 3 ปีต่อมาในวันที่ 6 ตุลา 2519 จะเกิดเหตุการณ์สืบเนื่อง มีการใช้ความรุนแรงกับประชาชนอีกครั้ง หรือเหตุการณ์สังหารหมู่ธรรมศาสตร์

และในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 หรือวันนี้ เวลา 14.00 น. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอีกครั้ง

Popular Topics