Home Social ทำไมการเรียนในแถบเอเชียกดดันกว่ายุโรป? เมื่อระบบการศึกษาต้อนเด็กให้จนมุม

ทำไมการเรียนในแถบเอเชียกดดันกว่ายุโรป? เมื่อระบบการศึกษาต้อนเด็กให้จนมุม

• เอเชียเน้นวิชา ที่มีคำตอบแค่ ‘ถูกกับผิด’ มากกว่าคำตอบใหม่ๆ และวัดเด็กทุกคนด้วยบรรทัดฐานเดียวกัน ทั้งที่เด็กแต่ละคนมีความเฉพาะตัวแตกต่างกัน • ฝั่งอเมริกา-ยุโรป วัดศักยภาพด้วยตัววัดที่เหมาะกับเด็กแต่ละคน ส่งเสริมด้านที่เด็กถนัด เหมือนมีไม้บรรทัดส่วนตัว

1

ไม่ใช่แค่คนไทยที่อยากย้ายประเทศ

ในประเทศที่เรามองภาพว่าพัฒนาแล้วอย่างเกาหลีใต้

เบื้องหลังกลับเป็นนรกโชซอนสำหรับเด็กนักเรียน

เมื่อเทียบเอเชียกับประเทศยุโรปแล้ว

ความหนักหนาในการเรียนถือว่าแตกต่างอย่างมาก

นักเรียนส่วนใหญ่ในเอเชีย เช่น ไทย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน หรือแม้แต่สิงคโปร์

ล้วนแบกรับความเครียดความกดดัน 

จากการเรียน และการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

จนหลายครั้งนำไปสู่การสูญเสียที่ยากจะยอมรับได้

อัตราการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น

[ ไทย ]

– วัยรุ่นอายุ 20-24 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 4.94 ต่อประชากรแสนคน

ในปี 2560 และเพิ่มขึ้นเป็น 5.33 ต่อประชากรแสนคนในปี 2561 (กรมสุขภาพจิต)

– นิสิตนักศึกษามากกว่า 10 ราย ฆ่าตัวตายเพราะความเครียดและโรคซึมเศร้า

ในเดือนมกราคม – เมษายน 2562 (BBC ไทย)

– นักเรียนมัธยม 32% รู้สึกเศร้าและสิ้นหวังอยู่ตลอดเวลา

17% คิดฆ่าตัวตายอย่างจริงจัง

14% วางแผนฆ่าตัวตาย

7% พยายามฆ่าตัวตาย 

(ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค, 2017)

[ ญี่ปุ่น ]

– การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของเด็กญี่ปุ่น

ในเด็กญี่ปุ่น 100 คน มี 29 คนที่ฆ่าตัวตาย

(กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่น, 2017)

– นักเรียน ‘ประถมและมัธยม’ ฆ่าตัวตายกว่า 250 คน ระหว่างปี 2016 – 2017

และมีแนวโน้มพุ่งสูงช่วงก่อนเปิดภาคเรียน

– และล่าสุดปี 2020 ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกสอง

อัตราการฆ่าตัวตายของเด็กพุ่งขึ้น 49%

[ เกาหลีใต้ ]

– อัตราการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น สูงที่สุดในกลุ่มประเทศ OECD 

อยู่ที่ 24.6 ต่อประชากรแสนคน

– วัย 9-24 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 9.1 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2018 

– การสำรวจในปี 2019 พบ 28% ของเด็กมัธยมมี ‘ภาวะซึมเศร้า’

ความผิดใคร?

——————–

เรียนหนัก เพื่ออะไร?

เด็กไทยเรียนวันละ 8-10 คาบ ไม่นับเรียนพิเศษ 

รวมกว่า 1,200 ชั่วโมงต่อปี

ติดอันดับ 1 ประเทศที่เด็กเรียนหนักที่สุดในโลกในปี 2012 โดย UNESCO

บางครอบครัวให้ลูกเริ่มกวดวิชาตั้งแต่ 5 ขวบ

พ่อแม่ยอมจ่ายเงินหลายแสนบาทต่อปี ให้ลูกเรียนพิเศษ

เพื่อเตรียมสอบเข้าโรงเรียนดัง ม.ดังๆ และคณะดังๆ เช่น แพทย์ วิศวะ

ไม่แปลกใจที่เด็กไทยหลายคนไม่รู้จุดมุ่งหมายของตัวเอง

เพราะจะให้เอาเวลาไหนไปหา ในเมื่อให้สิ่งที่ถูกยื่นให้ทำคือท่องจำตำรา

และก้มหน้าก้มตาเรียนพิเศษ 

เรียนจนจบ แต่สุขภาพจิตไม่เหลือ

มีนักเรียนแพทย์กี่คนที่กินยา จนกลายเป็นเรื่องปกติ

ในการเรียนแพทย์กว่าจะจบ 4 ปี และต่อเฉพาะทางอีก

ก็อายุเกือบ 30 ข้ามไปเป็นผู้ใหญ่ โดยไม่มีเวลาพักให้ใช้ชีวิต 

——————–

ความแตกต่างของระบบการศึกษา

ฝั่งเอเชีย vs ฝั่งอเมริกา-ยุโรป

ในขณะที่ชีวิตของเด็กเอเชีย แขวนอยู่กับการเรียน

เด็กยุโรปมีพื้นที่ และเวลาว่างให้ค้นหาตัวเอง 

1) รูปแบบการเรียนการสอน

ฝั่งอเมริกา-ยุโรป

– เน้น Critical Thinking ถกประเด็นต่างๆในห้องเรียน

เน้นให้เด็กกล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเอง

– ครูไม่ถือตัวกับนักเรียน

– หล่อเลี้ยงความสงสัย (curiousity) ของเด็ก

– เน้น output สอนยังไงก้ได้ ให้เด็กเอามาใช้จริง หรือประยุกต์ต่อได้

– ออกแบบหลักสูตรจากการทำงานของสมอง เน้นการลงมือทำ

– มี gap year ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย

เอเชีย

– เน้นวิชา STEM (Science Technology Engineering and Mathematics)
ที่มีคำตอบแค่ถูกกับผิด มากกว่าคำตอบใหม่ๆ 

– นักเรียนต้องเป็นทางการกับครู 

– ใส่ input ให้เด็กเยอะไป แล้วมาวัด output ของเด็กตอนทำงานทีเดียว

– ออกแบบหลักสูตรจากตำรา

2) การวัดผล

ฝั่งอเมริกา-ยุโรป

– วัดศักยภาพด้วยตัววัดที่เหมาะกับเด็กแต่ละคน 

ส่งเสริมด้านที่เด็กถนัด เหมือนไม้บรรทัดส่วนตัว

เอเชีย

– ขึ้นอยู่กับอันดับ Ranking system 

– ทำคะแนนได้ดีใน PISA,TIMSS การสอบวัดความฉลาดทางคณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์ และการอ่าน

– วัดเด็กทุกคนด้วยบรรทัดฐานเดียวกัน 

ทั้งที่เด็กแต่ละคนมีความเฉพาะตัวแตกต่างกัน

——————–

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่าง

1) ความเจริญของประเทศ

ฝั่งอเมริกา-ยุโรป

– เนื่องจากเป็นประเทศที่เจริญแล้ว มีคนจากประเทศอื่นเข้าไปทำงาน

งานใช้แรงงานเลยตกเป็นของคนเชื้อชาติอื่น 

ส่วนคนในประเทศก็ไปเน้นงานเฉพาะทางมากกว่า

– มีมหาวิทยาลัยเก่าแก่ ที่ผ่านยุคสมัยของการปฏิวัติอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์

– มีนักคิด นักวิทยาศาสตร์ เป็นต้นแบบ 

เอเชีย

– ยังต้องการพัฒนาคนมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 

งานที่ทำจึงขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด

– ความหนาแน่นของประชากรมากกว่า ในพื้นที่ทรัพยากรจำกัด

เช่น จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง จึงต้องการระบบวัดผลที่เป็นรูปธรรม

– เกิด middle-income trap ประเทศรายได้ปานกลาง

ต้องการยกตัวเองเป็นประเทศที่มีรายได้สูง

– ระบอบการปกครองขัดขวางนวัตกรรมใหม่ๆ

– อุตสาหกรรมในด้านอื่นยังเป็นรอง 

เช่น อุตสาหกรรมกีฬา ภาพยนตร์ แฟชั่น

2) ค่านิยมจากสังคม

ฝั่งอเมริกา-ยุโรป

– การเรียนเป็นทางเลือก หรือไลฟ์สไตล์

– ครอบครัวไม่ได้ปลูกฝังเรื่องบุญคุณเท่าเอเชีย

พ่อแม่ฝึกให้ลูกเอาตัวรอดเอง ต่างคนต่างรับผิดชอบชีวิตตัวเอง 

เอเชีย

– รูปแบบสังคมเป็นพีระมิด คนที่อยู่บนยอดถึงได้รางวัล

ทำให้การแข่งขันสูง

– มองการศึกษาเป็นตัวเลือกบังคับ ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ

เป็นหน้าเป็นตาให้ครอบครัว

– พ่อแม่ผ่านความยากลำบาก ในยุคที่ประเทศยังไม่พัฒนามาก (industrialized country) 

เลยไม่อยากให้ลูกลำบากเหมือนตัวเอง  

แม้เด็กต่างสัญชาติจะมีศักยภาพไปได้ไกลพอกัน

แต่มีเด็กฝั่งเอเชียกี่คนแล้ว ที่ถอดใจไปก่อนเพราะถูกระบบกดดัน

——————–

BBC ลองสลับให้เด็กอังกฤษมาเรียนแบบจีน

ด้วยความสงสัยว่าการเรียนแบบอังกฤษกำลังล้าหลังหรือเปล่า

เพราะช่วงหลังๆ คะแนนสอบของนักเรียนอังกฤษตกต่ำ ขณะที่ของนักเรียนจีนสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก

รายการ Are our kids tough enough? Chinese School ของ BBC 

จึงได้เชิญครูจีน 5 คน มาสอนเด็กนักเรียนอังกฤษชั้นม.3 ที่โรงเรียนโบฮันท์ ในมณฑลแฮมพ์เชียร์

เป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบจีน

เริ่มเรียนตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึง 1 ทุ่ม 12 ชั่วโมงต่อวัน

มีกิจกรรมออกกำลังกาย และเคารพธงชาติตอนเช้า

ผลที่ได้ คือ นักเรียนตามรูปแบบการสอนไม่ทัน 

นักเรียนเริ่มไม่ตั้งใจเรียน หลับในคาบ

บางคนร้องไห้ เมื่อถูกบังคับให้วิ่งให้ผ่านเกณฑ์

และบางคนเริ่มคิดว่า ‘ตัวเองจะมีคุณค่า’ ก็ต่อเมื่อ

ได้เป็นที่หนึ่งในการแก้โจทย์ในห้องเรียน

ดูเหมือนจะไปไม่รอด แต่เมื่อสอบวัดผล

นักเรียนห้องนี้กลับทำได้ดีกว่าห้องอื่น

แต่แน่ใจนะ ว่าเด็กได้ที่ 1 มาโดยไม่เสียอะไรไป

——————–

‘ระบบการศึกษา’ ผลักให้เด็กบางคนมี ‘ชีวิตที่ดี’

ในขณะเดียวกัน ก็ผลักเด็กอีกคนไปอยู่ปลายเหว

แล้วประเทศเรา เลือกอะไรให้กับเด็ก?

#AGENDA

ที่มา: koreaherald, cna, BBC Thai, tcijthai, brandinside, news.ch7, posttoday, workpointtoday, กรมสุขภาพจิต, whereisthailand, matichon, thematter

อ่านเพิ่มเติมเรื่องการสอบเข้าของแต่ละประเทศ

Exit mobile version