เรียน ‘อังกฤษ’ เป็น 10 ปี แต่ทำไมใช้จริงไม่ได้? 3 ปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษแบบไทย ๆ

Highlight

#AGENDA ได้มีโอกาสนำคำถามที่น่าสนใจนี้จาก dinso.co

มาหาคำตอบกับผู้เชี่ยวชาญในวงการศึกษาอย่าง คุณชื่นชีวัน วงษ์เสรี หรือคุณจุ๊ย ผู้ร่วมก่อตั้ง #Globish สตาร์ทอัปด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสอนภาษาอังกฤษและจีนที่ทำให้เราสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลากับครูต่างชาติ 

ในฐานะที่ Globish ก่อตั้งขึ้นมาเพราะตั้งใจจะตอบ Pain point เรื่องการเรียนภาษาของคนไทยโดยเฉพาะ

ซึ่งคุณจุ๊ยและทีมงานก็ได้แจง 3 ปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษแบบไทย ๆ ที่เป็นสาเหตุของการเรียนแล้วใช้ไม่ได้จริง พร้อมแนะแนวทางการแก้ไขแต่ละปัญหา เพื่อปรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เหมาะกับคนไทยด้วย

เริ่มที่ปัญหาแรก

1) “ข้อสอบกดดันโรงเรียน โรงเรียนกดดันครู ทำให้ครูต้องสอนสิ่งที่ ‘ควร’ จะสอน” 

ปัญหานี้มาจากผลกระทบของการสอบที่ส่งผลไปที่การเรียนการสอน หรือที่เรียกว่า Washback Effect

การสอบระดับชาติต่าง ๆ หรือ National Test ส่งผลไปที่การออกแบบหลักสูตรหรือออกแบบข้อสอบ เช่น การสอบ O-net ใน Formal Education ที่มีสอบช่วงป.6 ม.3 และ ม.6 ทำให้ครูถูกกดดันจากโรงเรียน โรงเรียนถูกกดดันจากข้อสอบ ว่าโรงเรียนจะต้องเป็นที่เท่าไหร่ของประเทศ 

ความกดดันจากระบบการสอบนี้ ส่งผลให้เด็ก ๆ ถูกสอนให้ทำข้อสอบ แทนที่จะได้พัฒนา Communicative Skills เพื่อการสื่อสารและใช้จริง

2) ไม่ได้ปรับ “Learning Experience ให้เข้ากับนักเรียน ทำให้นักเรียนไม่สามารถเชื่อมโยงกับการใช้จริงได้” 

เช่น การออกแบบหลักสูตรที่ไม่ได้คำนึงถึง Context การใช้หนังสือเรียนต่างประเทศมาจาก Mainstream เช่น อังกฤษ อเมริกา โดยไม่ได้มีการ Localise ให้เข้ากับคนไทย ทำให้นักเรียนรู้สึกไม่ Relevant หรือรู้สึกไม่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหา

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ฤดูกาล (ไทยมีแค่ ร้อน ฝน หนาว) หรือกีฬา หรือบทสนทนาที่คุยกันเช่น มีเด็กเดินเล่นในสวนสาธารณะ ซึ่งเราโตมาในประเทศไทยเราไม่คุ้นเคยกับการเดินเล่นในสวนสาธารณะกับเพื่อน

พอตัวอย่างในหนังสือไกลตัวเกินไป นักเรียนก็ไม่รู้สึกเกี่ยวข้อง พอไม่รู้สึกก็ไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่เรียนในหนังสือเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

การสอนที่ดีจึงควร Localise และ Contextualise  ทำให้เข้ากับประเทศนั้นๆ ยกตัวอย่างง่ายๆ แค่กรุงเทพกับต่างจังหวัดบริบทก็ไม่เหมือนกันแล้ว ครูจึงควรมีความสามารถในการดัดแปลงเนื้อหาให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันให้ได้

ถ้ามีความคุ้นชินมากขึ้น ก็จะช่วยทำให้เอามาใช้งานได้ง่ายขึ้น และทลายกำแพงความกลัวในการใช้ภาษาอังกฤษไปด้วย

3) “วิธีการสอนแบบยุคเก่า ที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของนักเรียนยุคใหม่”

ถ้าพูดถึงการสอนภาษาอังกฤษในยุคก่อน ๆ เช่น Grammar-translation method (การสอนเน้นแกรมม่าและการแปล), Audio-lingual method (การสอนที่เน้นการออกเสียงและเชื่อว่าการเรียนภาษาที่สองเหมือนการเรียนภาษาแรก), หรือแม้แต่การเรียนการสอนที่เพิ่งเป็นกระแสใหม่ในไทยอย่าง Communicative Language Teaching ที่เน้นการสื่อสาร ต่างก็มีข้อจำกัด ที่ทำให้นักเรียนยังไม่สามารถใช้ภาษาตามที่ต้องการได้

นั่นแปลว่า จริง ๆ แล้วการสอนทุกแบบมีข้อจำกัด ไม่มีอะไรที่ลงตัวกับทุกคน 100% ดังนั้นความยืดหยุ่นในการเรียนจำเป็นมาก

ปัญหาเหล่านี้ แก้ได้ด้วย 3 P

ในยุคนี้มีทฤษฎีการเรียนภาษาแบบใหม่ที่เรียกว่า Postmethod Pedagogy ที่ไม่ยึดระเบียบแผนวิธี

โดยเน้น 3 ประเด็น คือ

1) Practicality การนำไปใช้ได้จริง เน้นการปฏิบัติมากขึ้น เช่น ฝึกการฟัง-พูดกับชาวต่างชาติ

2) Particularity ความเฉพาะเจาะจง ครูต้องเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับนักเรียนโดยคำนึงถึง context ให้เข้าถึง และเข้าใจบริบทการใช้งาน

3) Possibility ความเป็นไปได้ รวมถึงแนวคิดนี้ยังเน้นเรื่อง Power หรือ “อำนาจการผู้เรียนและผู้สอน” ซึ่งหมายถึง ผู้สอนมีอำนาจในการเลือกสิ่งที่เหมาะสม และในขณะเดียวกัน นักเรียนควรมีอำนาจในการเลือกเรียนด้วยตนเอง เช่น การเลือกวิธีการเรียน เวลาการเรียน Pace ของการเรียน ที่เหมาะสมกับตนเอง ซึ่งทำให้เกิด Motivation และการเรียนรู้ที่ดีขึ้น 

ข้อมูลโดย Globish

  • June ศรัณย์พร ปัญญาโรจน์

Head of Department of Teaching and Learning

MA in Applied Linguistics for English Language Teaching, University of York

  • Juice ชื่นชีวัน วงษ์เสรี

Co-founder, Globish Academia(Thailand) Co.,Ltd.


รวมออกไอเดียตอบคำถามนี้ ได้ที่

https://dinso.co/questions/6086d9abbc7c8225481675fe

Popular Topics