Home PR Work-Life Balance ยังมีอยู่จริงหรือ? เมื่อคน Gen Z คือแรงขับเคลื่อนหลักของกระแส “การลาออกครั้งใหญ่”

Work-Life Balance ยังมีอยู่จริงหรือ? เมื่อคน Gen Z คือแรงขับเคลื่อนหลักของกระแส “การลาออกครั้งใหญ่”

โรคระบาดทำ Work ไร้ Balance สถิติเผย Gen Z พร้อม ‘ขอบาย’ ถ้าทำงานที่บ้านเหนื่อยกว่าที่บริษัท

0

ชีวิต New Normal ที่พนักงานองค์กรและเจ้าของธุรกิจต้องปรับตัว
เปลี่ยนไป Work From Home แทนการเข้าบริษัทกลายเป็นฝันร้าย
ที่ทำลายการจัดการเวลาส่วนตัวและเวลางาน จนเริ่ม ‘หมดไฟ’

— อย่างนี้ต้อง ‘ลาออก’ —

สถิติของกระทรวงแรงงาน สหรัฐฯ เปิดเผยว่า
แรงงานรุ่นใหม่ (Gen Z) กว่า 4 ล้านคนมีภาวะกดดันมากขึ้น
จากการทำงานที่บ้าน เนื่องจากงานรุกล้ำเวลาส่วนตัว
และมีแนวโน้มที่จะลาออก เปลี่ยนงานใหม่อย่างไม่ลังเล
เพื่อต้องการออกแบบตารางเวลาชีวิตของตนเองให้มีอิสระมากขึ้น

โรคระบาดกำลังสร้าง “กระแสการลาออกครั้งใหญ่”

— เวลาส่วนตัวกลายเป็นเวลางาน
ใครไหวไปก่อนเลย แต่ฉันไม่ไหว ฉันหมดไฟแล้ว —

ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) กลายเป็นปัญหาที่พบมากในช่วงโรคระบาด ซึ่งกระทบทั้งผู้ประกอบการและแรงงาน เนื่องจากพวกเขารู้สึกเหนื่อยล้า เครียด และกดดัน กับหน้าที่ที่ต้อง “Stand By” ตลอดเวลา เมื่อมีภาระงานเข้ามา แม้จะอยู่ในช่วงเวลาเลิกงานแล้วก็ตาม

ข้อมูลการสำรวจของ Adobe พบว่า 49 % ของพนักงานบริษัท และ 56 % ของผู้ประกอบการ ใช้เวลากับการทำงานยาวนานกว่าการเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ

พนักงานบริษัททำงานโดยเฉลี่ย 44.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนผู้ประกอบการทำงานโดยเฉลี่ย 45.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าชั่วโมงทำงานปกติ


— เมื่อคนทำงานยืนอยู่บนทางแยกวัดใจ
อะไรจะทำให้พวกเขาอยากไปต่อ ? 

คำตอบ คือ เทคโนโลยี และ การหยืดหยุ่น —


ผลการศึกษาของ Adobe เปิดเผยว่า เหล่าคนทำงานมีความเชื่อว่าหากมีเทคโนโลยีที่ช่วยแบ่งเบาการทำงานได้ จะเป็นผลที่ดีต่อตนเองและองค์กร ช่วยให้ได้ผลลัพธ์รวดเร็วตามเป้าหมาย ในขณะที่ร่างกายไม่ต้องหักโหมเกินไป และเพิ่มเวลาส่วนตัวสำหรับใช้ชีวิต

โดยเฉพาะสำหรับงานง่าย ๆ อย่างเช่น การจัดการไฟล์ แบบฟอร์ม สัญญา การชำระเงิน ซึ่งพนักงานต้องใช้เวลาราวหนึ่งในสามของชั่วโมงทำงานไปกับงานธุรการที่ต้องทำซ้ำ ๆ วกวน ไปมา

กว่า 86 % ของพนักงานบริษัท และ 83 % ของผู้ประกอบการ ระบุว่า งานปลีกย่อยเหล่านี้เป็นอุปสรรคที่บั่นทอนประสิทธิภาพในการทำงาน และกว่าครึ่งหนึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนงาน ถ้าหากว่าที่ทำงานใหม่มีเครื่องมือที่ดีกว่า ซึ่งจะช่วยให้เขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ การหยืดหยุ่นผ่อนปรนเวลางานขององค์กร ช่วยคลายความกังวลของพนักงานได้ดี โดยผู้ประกอบการจะต้องออกตัวให้พนักงานเห็นถึงความใส่ใจที่มีให้ เปลี่ยนโครงสร้างการทำงานแบบเดิมที่เน้น ‘ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด’ เป็นเน้น ‘ความพึงพอใจในการทำงานสูงสุด’

ดังนั้น เทคโนโลยีและการหยืดหยุ่น เป็นสิ่งจำเป็นในการซื้อใจพนักงานให้ยังคงทำงานร่วมกับองค์กรไปนาน ๆ เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของบริษัท กอบกู้ Work-Life Balance และพยุงองค์กรให้ก้าวผ่านวิกฤติแห่งการ ‘Burn Out’ ไปด้วยกัน

ที่มา: Adobe report — The Future of Time, Brandinside.asia, BANGKOKBANK SME

Exit mobile version