Home Social ประเทศที่ไม่ได้ร่ำรวยกว่าไทย แต่ประชาชนได้ฉีดวัคซีนโควิดมากกว่า

ประเทศที่ไม่ได้ร่ำรวยกว่าไทย แต่ประชาชนได้ฉีดวัคซีนโควิดมากกว่า

- ทั่วโลกฉีดวัคซีนกันไปแล้วรวมกว่า 726 ล้านโดส ใน 154 ประเทศ - ไทยฉีด #วัคซีนโควิด19 เพียงวันละ 28,573 โดส ด้วยความเร็วเท่านี้ ไทยต้องใช้เวลา 10 ปี ประชาชนถึงจะได้ฉีดวัคซีนครบ..

0

…ไทยฉีด #วัคซีนโควิด19 เพียงวันละ 28,573 โดส

ด้วยความเร็วเท่านี้ ไทยต้องใช้เวลา 10 ปี ประชาชนถึงจะได้ฉีดวัคซีนครบ..

*สืบค้นข้อมูล อัพเดท ณ วันที่ 9 เมษายน 2564

ตอนนี้ทั่วโลกฉีดวัคซีนกันไปแล้วรวมกว่า 726 ล้านโดส ใน 154 ประเทศ

ส่วนไทย ฉีดไป 392,000 โดส

ซึ่งครอบคลุมที่ประมาณ 0.30% ของประชากร

หรือฉีดเพียงวันละ 28,573 โดส

..ด้วยความเร็วเท่านี้ ไทยต้องใช้เวลาราวๆ 10 ปี 

ประชาชนถึงจะได้ฉีดวัคซีนกันครบ..

ตอนนี้ ยังมีการระบาดคลัสเตอร์ใหญ่ก่อนเทศกาลหยุดยาวเพียงไม่กี่วัน

ทำให้มีคำถามถึง #วัคซีนโควิด19 อย่างล้นหลามอีกครั้ง

ว่าผ่านมาจะถึงครึ่งปีแล้ว ทำไมจำนวนประชากรไทยที่ได้รับวัคซีนยังน้อยนิด

ทั้งที่ผ่านมา รัฐบาลยืนยันการตัดสินใจไม่เข้าร่วมโครงการ COVAX เพื่อรับวัคซีนฟรีเป็นชาติเดียวในอาเซียน ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่ได้เข้าเกณฑ์ประเทศยากจน และไม่รู้จะได้วัคซีนอะไร

แต่เมื่อถูกถามถึงการสั่งซื้อวัคซีนเพิ่มเติม

ประชาชนก็ได้รับเหตุผลจากผู้บริหารใหญ่ว่า

ไทยไม่ได้เป็นประเทศที่ร่ำรวยมากพอ

วันนี้ #Agenda ได้รวบรวมข้อมูลการฉีดวัคซีนของประเทศต่างๆ ที่แม้จะมี ‘GDP ต่อหัว ต่ำกว่าไทย’
แต่ จำนวนประชาชนที่ได้รับการฉีดวัคซีน ครอบคลุมนำไทยไปหลายเท่าตัวแล้ว มาฝากทุกท่านกัน

—–

🇧🇹 ภูฏาน 🇧🇹

มีจำนวนประชากร 763,092 คน

GDP ต่อหัวอยู่ที่ 8,697 บาท/เดือน [ตำ่กว่าไทย 2 เท่า]

แต่ฉีดวัคซีนไปแล้ว 31.70%  – ลำดับที่ 10 จาก 169 ประเทศ

ใช้เวลาอีก 4 เดือน จะครอบคลุม 75% ของประชากรทั้งประเทศ

—–

🇲🇳 มองโกเลีย 🇲🇳

มีจำนวนประชากร 3,225,167 คน

GDP ต่อหัวอยู่ที่ 11,381 บาท/เดือน [ตำ่กว่าไทย 2 เท่า]

แต่ฉีดวัคซีนไปแล้ว 6.30%  – ลำดับที่ 69 จาก 169 ประเทศ

ใช้เวลาอีก 4 เดือน จะครอบคลุม 75% ของประชากรทั้งประเทศ


—–

🇳🇵 เนปาล 🇳🇵

มีจำนวนประชากร 28,608,710 คน

GDP ต่อหัวอยู่ที่ 2,809 บาท/เดือน [ตำ่กว่าไทย 7 เท่า]

แต่ฉีดวัคซีนไปแล้ว 2.80%  – ลำดับที่ 89 จาก 169 ประเทศ

ใช้เวลาอีก 3.4 ปี จะครอบคลุม 75% ของประชากรทั้งประเทศ


—–

🇮🇩 อินโดนีเซีย 🇮🇩

มีจำนวนประชากร 270,625,568 คน

GDP ต่อหัวอยู่ที่ 10,846 บาท/เดือน [ตำ่กว่าไทย 2 เท่า]

แต่ฉีดวัคซีนไปแล้ว 2.60%  – ลำดับที่ 91 จาก 169 ประเทศ

ใช้เวลาอีก 4 ปี จะครอบคลุม 75% ของประชากรทั้งประเทศ

—–

🇱🇰 ศรีลังกา 🇱🇰

มีจำนวนประชากร 21,803,000.00 คน

GDP ต่อหัวอยู่ที่ 10,105 บาท/เดือน [ตำ่กว่าไทย 2 เท่า]

แต่ฉีดวัคซีนไปแล้ว 2.10%  – ลำดับที่ 95 จาก 169 ประเทศ

ใช้เวลาอีก 17 เดือน จะครอบคลุม 75% ของประชากรทั้งประเทศ


—–

🇧🇩 บังกลาเทศ 🇧🇩

มีจำนวนประชากร 163,046,161 คน

GDP ต่อหัวอยู่ที่ 4,867 บาท/เดือน [ตำ่กว่าไทย 4 เท่า]

แต่ฉีดวัคซีนไปแล้ว 1.70%  – ลำดับที่ 100 จาก 169 ประเทศ

ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ถึงจะครอบคลุม 75% ของประชากรทั้งประเทศ


—–

🇰🇭 กัมพูชา 🇰🇭

มีจำนวนประชากร 16,486,542 คน

GDP ต่อหัวอยู่ที่ 4,309 บาท/เดือน [ตำ่กว่าไทย 5 เท่า]

แต่ฉีดวัคซีนไปแล้ว 1.30%  – ลำดับที่ 106 จาก 169 ประเทศ

ใช้เวลาอีก 6.5 ปี ถึงจะครอบคลุม 75% ของประชากรทั้งประเทศ

—–

🇲🇲 เมียนมา 🇲🇲

มีจำนวนประชากร 54,045,420 คน

GDP ต่อหัวอยู่ที่ 3,692 บาท/เดือน [ตำ่กว่าไทย 6 เท่า]

แต่ฉีดวัคซีนไปแล้ว 1.00%  – ลำดับที่ 112 จาก 169 ประเทศ

ใช้เวลาอีก 5.5 ปี ถึงจะครอบคลุม 75% ของประชากรทั้งประเทศ


—–

🇰🇪 เคนยา 🇰🇪

มีจำนวนประชากร 52,573,973 คน

GDP ต่อหัวอยู่ที่ 4,764 บาท/เดือน [ตำ่กว่าไทย 4 เท่า]

แต่ฉีดวัคซีนไปแล้ว 0.4%  – ลำดับที่ 126 จาก 169 ประเทศ

ใช้เวลาอีก 7.5 ปี ถึงจะครอบคลุม 75% ของประชากรทั้งประเทศ


—–

🇹🇭 ไทย 🇹🇭

มีจำนวนประชากร 69,625,582 คน

GDP ต่อหัวอยู่ที่ 20,473 บาท/เดือน

แต่ฉีดวัคซีนไปแล้วเพียง 0.3%  – ลำดับที่ 133 จาก 169 ประเทศ

ใช้เวลาอีก 10 ปี ถึงจะครอบคลุม 75% ของประชากรทั้งประเทศ


✏️ เกิดอะไรขึ้นกับไทย?

นอกจากจะมีเรื่องพลาดการเข้าร่วมโครงการ COVAX แล้ว

ยังมีประเด็นการได้รับและกระจายวัคซีนที่ล่าช้า

ล่าสุด (9 เม.ย. 64) รัฐบาลเพิ่งตัดสินใจอนุมัติการจัดหา #วัคซีนทางเลือก

ทั้งหมดนี้ สะท้อนถึงการไม่บริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีพอ

ทำให้ไทยได้รับผลกระทบและความเสียหายหลายครั้ง

โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและประชาชาชนรายย่อย

ที่ไม่สามารถแบกรับความเสี่ยงและแรงกระแทกจากโควิดได้หลายครั้งเหมือนธุรกิจใหญ่ๆ 

แต่รัฐบาลก็ยังไม่มีคำตอบและทางออกที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้เลยว่า

ประเทศไทยกำลังมุ่งไปหาทางออกที่ดีกว่า


ที่มา:

Exit mobile version