อยากมีไหม?​ รัฐอัจฉริยะ สรุปวิธีสร้างรัฐดิจิตอลจาก 6 ประเทศ

Highlight

เมืองอัจฉริยะที่ไม่จำเป็นต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชน ไม่จำเป็นต้องไปธนาคาร เพราะทำทุกอย่างได้บนมือถือ และนี่คือ 6 ประเทศที่รัฐบาลตั้งเป้า วางแผนเพื่อปูทางให้เมืองแห่งนวัตกรรมอนาคตเกิดขึ้นจริง

รถบินได้ หุ่นยนต์ตำรวจ ตึกรูปร่างล้ำๆ สูงระฟ้า

ถ้าพูดถึงเมืองในโลกอนาคตแล้วนึกถึงสิ่งเหล่านี้ อาจจะฟังดูห่างไกลกว่าจะไปถึง
แต่ถ้าพูดถึงเมืองในอนาคตที่ใกล้กว่า และเจาะลึกถึงคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจมากขึ้น
เมืองอัจฉริยะอาจหมายถึงสิ่งเหล่านี้

ไม่จำเป็นต้องถ่ายสำเนาบัตรประชาชน (ไม่ถ่ายสำเนาบัตรประชาชน แล้วเขาใช้อะไรกัน? คลิกอ่านได้เลย)
ไม่จำเป็นต้องไปธนาคาร เพราะทำทุกอย่างได้บนมือถือ
ไม่จำเป็นต้องมีรถเพื่อเดินทาง เพราะระบบคมนาคมในเมืองสะดวกและเชื่อมต่อกัน
ไม่ต้องลางานไปติดต่อราชการ เพราะทำทุกอย่างได้แบบออนไลน์
ไม่ต้องกลัวการโกงเลือกตั้ง เพราะมีเทคโนโลยี Blockchain ช่วยตรวจสอบ

ช่วงเวลานี้ คือช่วงเวลาที่มนุษย์กำลังเสกสรรค์สิ่งที่เคยจินตนาการเกี่ยวกับเมืองในโลกอนาคตให้เป็นจริงขึ้นทีละน้อย ที่แม้แต่วิกฤติโควิดก็ถ่วงไม่ได้ กลับผลักดันให้เติบโตกว่าเดิมด้วยซ้ำ

และนี่คือ 6 ประเทศที่รัฐบาลตั้งเป้า วางแผนเพื่อปูทางให้เมืองแห่งนวัตกรรมอนาคตเกิดขึ้นจริง

เดนมาร์ก

นโยบายภาครัฐ :
– ตั้งหน่วยงาน The Agency for Digitisation
– มีแผนยุทธศาสตร์ ‘ดิจิทัล’ ตั้งแต่ปี 2005

นวัตกรรมจากรัฐที่เกิดขึ้น :
– สำเนากระดาษไม่ใช่สิ่งจำเป็น เมื่อ “บัตรประชาชน/ใบขับขี่/พาสปอร์ต” ถูกปรับมาเป็นแบบออนไลน์ หรือ NEMID
– บริการภาครัฐต้องเข้าถึงง่าย รวดเร็วไม่ยุ่งยาก
ดังนั้นเดนมาร์กจึงจัดบริการให้แก่ประชาชนทั้งหมดกว่า 1,000 รายการ ผ่านเว็บไซต์ Borger.dk

———-

เอสโตเนีย

ประเทศที่น่าสนใจและเป็นกรณีศึกษาที่ดีมาก
เพราะประเทศเล็กๆ นี้ใช้เวลาเพียง 25 ปีหลังได้รับอิสรภาพจากโซเวียต
ผลักนักการเมืองรุ่นเก่าออกจากระบบ
จนกลายเป็นสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลที่ก้าวหน้าที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
Estonia ในวันนี้ จึงเป็นที่จดจำในชื่อ e-Stonia

นโยบายภาครัฐ :

-โครงการ Tiger’s Leap ลงทุนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์สำหรับการศึกษา ไปจนถึงโครงการ Proge Tiger สอนการเขียนโค้ดและโปรแกรมให้กับนักเรียนตั้งแต่ประถมหนึ่ง
– จัดตั้งกฎหมายที่ทำให้การเข้าถึง ‘อินเทอร์เน็ต’ เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

นวัตกรรมจากรัฐที่เกิดขึ้น :
– จัดตั้งระบบ i-Voting เลือกตั้งแบบออนไลน์ ด้วย Blockchain
– จัดเก็บข้อมูลสุขภาพของประชาชนบนระบบคลาวด์
– E-government ทำให้ต้นทุนถูกลงถึง 2% ของ GDP
– ที่น่าสนใจก็คือ เราก็เป็นประชาชนของเอสโตเนียได้!
เพราะเอสโตเนียเปิดรับประชากรผ่านช่องทางออนไลน์ หรือ e-Residency
โดยประชาชนออนไลน์ได้รับสิทธิในการจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ เปิดบัญชีธนาคาร รวมถึงบริการออนไลน์ของรัฐหลายอย่าง


———-

จีน

นโยบายภาครัฐ :
– ตั้งสำนักบริหาร Cyberspace จีน- ผลิตกำลังสำคัญ​ คือ ‘นักศึกษา’ ในสายวิชาเทคโนโลยี ปีละกว่า 4.7 ล้านคน
(STEM : Sciences, Technology, Engineering and Math) เพื่อมาช่วยผลักดันและพัฒนาเทคโนโลยี
– นโยบายขยายเศรษฐกิจดิจิตัล ผลักดันแพลตฟอร์มสัญชาติจีน เช่น Tiktok, Alibaba หรือแม้แต่ลงทุนในแพลตฟอร์ม E-commerce สัญชาติอื่นๆ เช่น Lazada

นวัตกรรมจากรัฐที่เกิดขึ้น :
– ผลักดัน ‘เงินหยวนดิจิทัล’ ให้เป็นสกุลเงินเบอร์
– สร้างเมืองอัจฉริยะ AI ใน 100 ประเทศทั่วโลก เช่น พัฒนาเมืองสงอันในจีน ให้มีถนนใต้ดิน เพื่อประหยัดเนื้อที่และลดปัญหาจราจร

———-

เกาหลีใต้

นโยบายภาครัฐ :
– แผนการสร้าง Smart City เมืองที่เชื่อมโยงทุกอย่างเข้าหากันด้วยดิจิทัล เพื่อกำจัดปัญหาระบบเมืองที่ยุ่งเหยิงหลายเรื่อง เช่น ขาดความความยั่งยืน จราจร มลพิษ ความปลอดภัย เป็นต้น
– มีเม็ดเงินลงทุนด้านวิจัยและการพัฒนา ต่อ GDP มากที่สุดในโลก

นวัตกรรมจากรัฐที่เกิดขึ้น :
– พัฒนาระบบบริการประชาชน จากเดิมใช้เอกสาร 4 แผ่น และต้องรอเป็นเวลา 3 วัน ลดเหลือเพียงเอกสารแผ่นเดียว รอ 20 นาที
– “เมืองซองโด” ตัวอย่าง Smart City บ้านและอาคารต่างๆ จะเป็นอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่สามารถลำเลียงขยะผ่านชั้นใต้ดินไปยังโรงงานรีไซเคิล หรือโรงไฟฟ้าเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
– เกาหลีใต้เข้มแข็งมากในเรื่องฮาร์ดแวร์ ดังนั้นเกาหลีใต้จึงเป็นประเทศแรกๆ ที่เกิดระบบเครือข่ายสารสนเทศที่รวดเร็วที่สุดในโลกอย่าง 5G


———-

นอร์เวย์

นโยบายภาครัฐ :
– จัดตั้งกระทรวงการปกครองท้องถิ่น และความทันสมัย
– วางแผนนโยบาย Digital Agenda for Norway

นวัตกรรมจากรัฐที่เกิดขึ้น :
– รวมบริการภาครัฐเบ็ดเสร็จในจุดเดียวกว่า 600 บริการ เช่น noge.no
– ระบบ Altinn ช่วยจัดการคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องกรอกแบบฟอร์ม
– Norwegian Air สายการบินระดับชาติของ Norway รับการชำระเงินด้วยคริปโตเคอเรนซี (Cryptocurrency) ของตน

———-

สิงคโปร์

นโยบายภาครัฐ :
– วางแผนที่จะใช้ e-Payment 100% ในปี 2023
– ทุกกระทรวงต้องใช้ AI อย่างน้อย 1 บริการ

นวัตกรรมจากรัฐที่เกิดขึ้น:
– Smart Nation Platform : ยกระดับสู่ประเทศอัจฉริยะ
– สิงคโปร์ต้องการที่จะเป็นศูนย์กลาง Innovation Hub ของโลก ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าลงทุนสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัปทั้งชาวสิงคโปร์และต่างชาติ

Popular Topics