Home ECONOVERSE น้ำมันแพงขนาดนี้ คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของค่าแรง

น้ำมันแพงขนาดนี้ คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของค่าแรง

0

น้ำมันแพง-ไม่แพง ⛽ ลองวัดด้วย ‘ค่าแรง’ ขั้นต่ำ 💸

ทุกวันนี้หันไปทางไหนก็ดูเหมือนราคาสินค้าจะขึ้นไปหมดทุกอย่าง นั่นก็แพง นี่ก็แพง ไม่เว้นแม้แต่น้ำมัน  มีอย่างเดียวที่ไม่ขึ้น คือ ‘ค่าแรง’ ราคาน้ำมันในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาพาคนใช้รถยนต์กุมขมับกันใหญ่ 

ย้อนกลับไปตลาดน้ำมันดิบทั่วโลก ราคาเริ่มผันผวนตั้งแต่ปลายปี 2564 ทยอยปรับตัวสูงขึ้นจนเคยทะลุ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล พอน้ำมันแพง ก็กระทบค่าขนส่งลามไปยังค่าสินค้าอื่น ๆ ทำให้สามัคคีตบเท้าขึ้นราคากันเป็นว่าเล่น ยิ่งประเทศที่ต้องนำเข้าน้ำมันต่างประเทศ ยิ่งกระทบค่าครองชีพไปกันใหญ่

สาเหตุของ ‘น้ำมันแพง’ ส่วนหนึ่งคาดว่ามาจากสงครามยูเครน-รัสเซีย ท่าทีของสหรัฐฯ และการลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปก ขณที่เศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวหลังวิกฤตโรคระบาด ความต้องการน้ำมันจึงพุ่งสูงสวนทางกับการผลิตที่น้อยลง ทำให้เกิดสงครามแก่งแย่งน้ำมันจนราคาน้ำมันขึ้นสูงในรอบ 7 ปี

แต่ละประเทศจะมีโครงสร้าง นโยบายพลังงาน ราคากลั่น และภาษีเป็นปัจจัยกำหนดราคาแตกต่างกันไป การสรุปว่า ‘ราคาน้ำมันแพง’ ในแต่ละประเทศจึงต้องคำนึงถึงบริบทอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย หนึ่งในนั้น คือ ‘ค่าแรงขั้นต่ำ ที่พอจะบ่งบอกความสามารถในการซื้อน้ำมันของประชาชนเทียบกับของต่างประเทศ

#Agenda เทียบราคาน้ำมันในไทยกับต่างประเทศ ‘แพงหรือถูก’ กว่ากัน ? เมื่อวัดจากค่าแรงขั้นต่ำ สะท้อนราคาน้ำมันกับความสามารถในการซื้อหาของประชาชนในแต่ละประเทศ 🚕

🇹🇭 ไทย 🇹🇭

‒ ค่าแรงขั้นต่ำ/วัน ประมาณ 325 บาท

‒ ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ย/ลิตร อยู่ที่ 34.94 บาท ซึ่งคิดเป็น 11% ของค่าแรงขั้นต่ำ

‒ ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ย/ลิตร อยู่ที่ 52.06 บาท ซึ่งคิดเป็น 16% ของค่าแรงขั้นต่ำ

หากเทียบ 1 วันทำงาน 8 ชั่วโมง เท่ากับคนไทยต้องทำงานประมาณ 1-2 ชั่วโมงแลกกับน้ำมัน 1 ลิตร

🇧🇳 บรูไน 🇧🇳

‒ ค่าแรงขั้นต่ำ/วัน ประมาณ 664 บาท

‒ ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ย/ลิตร อยู่ที่ 7.88 บาท ซึ่งคิดเป็น 1% ของค่าแรงขั้นต่ำ

‒ ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ย/ลิตร อยู่ที่ 13.48 บาท ซึ่งคิดเป็น 12% ของค่าแรงขั้นต่ำ

หากเทียบ 1 วันทำงาน 8 ชั่วโมง เท่ากับคนบรูไนต้องทำงานประมาณ 10-15 นาทีแลกกับน้ำมัน 1 ลิตร

🇸🇬 สิงคโปร์ 🇸🇬

‒ ค่าแรงขั้นต่ำ/วัน ประมาณ 1,423 บาท

‒ ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ย/ลิตร อยู่ที่ 81.08 บาท ซึ่งคิดเป็น 6% ของค่าแรงขั้นต่ำ

‒ ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ย/ลิตร อยู่ที่ 86.93 บาท ซึ่งคิดเป็น 6% ของค่าแรงขั้นต่ำ

หากเทียบ 1 วันทำงาน 8 ชั่วโมง เท่ากับคนสิงคโปร์ต้องทำงานประมาณ 25-30 นาทีแลกกับน้ำมัน 1 ลิตร

🇦🇪 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 🇦🇪

‒ ค่าแรงขั้นต่ำ/วัน ประมาณ 1,610 บาท

‒ ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ย/ลิตร อยู่ที่ 39.86 บาท ซึ่งคิดเป็น 2% ของค่าแรงขั้นต่ำ

‒ ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ย/ลิตร อยู่ที่ 38.8 บาท ซึ่งคิดเป็น 2% ของค่าแรงขั้นต่ำ

หากเทียบ 1 วันทำงาน 8 ชั่วโมง เท่ากับคน UAE ต้องทำงานประมาณ 10-15 นาทีแลกกับน้ำมัน 1 ลิตร

🇲🇾 มาเลเซีย 🇲🇾

‒ ค่าแรงขั้นต่ำ/วัน ประมาณ 395 บาท

‒ ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ย/ลิตร อยู่ที่ 17.21 บาท ซึ่งคิดเป็น 4% ของค่าแรงขั้นต่ำ

‒ ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ย/ลิตร อยู่ที่ 16.41 บาท ซึ่งคิดเป็น 4% ของค่าแรงขั้นต่ำ

หากเทียบ 1 วันทำงาน 8 ชั่วโมง เท่ากับคนมาเลเซียต้องทำงานประมาณ 20-25 นาทีแลกกับน้ำมัน 1 ลิตร

🇺🇸 สหรัฐอเมริกา 🇺🇸

‒ ค่าแรงขั้นต่ำ/วัน ประมาณ 2,057 บาท

‒ ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ย/ลิตร อยู่ที่ 53.427 บาท ซึ่งคิดเป็น 3% ของค่าแรงขั้นต่ำ

‒ ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ย/ลิตร อยู่ที่ 48.503 บาท ซึ่งคิดเป็น 2% ของค่าแรงขั้นต่ำ

หากเทียบ 1 วันทำงาน 8 ชั่วโมง เท่ากับคนอเมริกันต้องทำงานประมาณ 10-15 นาทีแลกกับน้ำมัน 1 ลิตร

จะเห็นว่า ราคาน้ำมันในไทยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ขั้นต่ำของประชาชนและต่างประเทศ เนื่องจากมีปัจจัยโครงสร้างภายในที่ซับซ้อนส่งผลต่อการกำหนดราคาหรือเรียกว่า ‘ต้นทุนน้ำมัน’ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ

1) ต้นทุนเนื้อน้ำมันที่ซื้อจากโรงกลั่น ซึ่งประเทศไทยได้อ้างอิงราคาหน้าโรงกลั่นตามสิงคโปร์ ซึ่งทำให้มีค่าขนส่งและค่าประกันนำเข้าอื่น ๆ เพิ่มเติม แม้จะมีการถกเถียงเรื่องราคาที่สูงเกินจริงเพราะไทยเองสามารถผลิตน้ำมันสำเร็จรูปโดยโรงกลั่นในประเทศ

2) ภาษีและเงินส่งกองทุน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 32% (ตามสัดส่วนที่รัฐบาลกำหนด) โดยเฉพาะค่าภาษียิบย่อย เช่น ภาษีสรรพสามิต , ภาษีเทศบาล หรือ “ภาษีบำรุงท้องถิ่น” และภาษีมูลค่าเพิ่มของกระทรวงการคลัง เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของกระทรวงพลังงาน และเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

 3) ค่าการตลาดของผู้ประกอบการเฉลี่ยอยู่ที่ 6% เป็นรายได้จากการขายน้ำมันที่หน้าหน้าปั๊ม จนทำให้เส้นทางน้ำมันดิบตั้งแต่การนำเข้าส่งต่อถึงหน้าปั้ม และจำหน่ายแก่ประชาชนมีการบวกเพิ่มค่าอื่น ๆ จนราคาปกติขึ้นไปเป็นราคาสูง เมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำแล้วนั่นเอง

ทั้งนี้ การตัดสินว่าน้ำมันแพงเป็นเรื่องจริงหรือจกตา คงเป็นเรื่องส่วนบุคคล ขึ้นกับว่าเงินในกระเป๋าแต่ละท่านจะจ่ายไหว ? หรือความสามารถในการหาเงินเป็นเท่าไร ? แต่สำหรับชนชั้นกลางที่รายได้ส่วนใหญ่อิงตามค่าแรงขั้นต่ำแล้วนั้น คงยากที่จะสะกดจิตตัวเองให้ปฏิเสธความจริงที่ว่าตอนนี้ “น้ำมันแพง” ไม่ได้

หมายเหตุ : 

* ราคาน้ำมันเป็นราคาในช่วงวันที่ 20-23 มิถุนายน 2565 

* ค่าแรงขั้นต่ำไทยเป็นค่าเฉลี่ยตามพื้นที่จังหวัดรวบรวมโดย iTAX 

Exit mobile version