จากตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุดของไทยคือ 7.66% สูงสุดในรอบกว่า 13 ปี จนถึงตอนนี้อีกตัวเลขที่น่ากังวล เมื่อค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องจนไปแตะที่ 36 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ หนักสุดในรอบเกือบ 16 ปี จากสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก หรือนี่อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าประเทศไทยกำลังจะเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย?
#Agenda ช่วนส่องเงินบาทอ่อนจะส่งผลกระทบทั้งเชิงลบและเชิงบวกต่อสังคมไทยอย่างไร
ต้นเหตุของเงินอ่อน
เงินเฟ้อสูงทำให้สินค้าแพงขึ้น ส่งผลให้สหรัฐฯ เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 1.75% ใน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยอยู่เพียงแค่ 0.50%
ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลให้เงินลงทุนไหลออกจากประเทศไทยเป็นจำนวนมากส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมากที่สุดในรอบกว่า 16 ปี
เงินบาทอ่อน สัญญาณอันตรายของเศรษฐกิจไทย
จากตัวเลขเงินเฟ้อของไทยที่แตะ 7.66% บวกกับเงินบาทที่อ่อนลงทำให้สินค้านำเข้ายิ่งแพงกว่าเดิม โดยเฉพาะน้ำมันดิบ!
เนื่องจากไทยนำเข้าน้ำมันดิบสูงถึง 80% ของปริมาณน้ำมันที่ใช้ทั้งหมด ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันโลกที่ร่วงหนักในหลายวันที่ผ่านมา แต่ราคาน้ำมันอาจไม่ได้ปรับตัวลดลงมากนักเนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนลง
สินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศก็มีต้นทุนที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในวงกว้าง
ไม่ได้มีแต่เสีย ข้อดีก็มี
ท่องเที่ยวอาจกลับมาเป็นตัวเอก ด้วยค่าเงินบาทที่อ่อนลงอาจเป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวไทยมากยิ่งขึ้น บวกกับคนไทยที่อาจไปเที่ยวต่างประเทศน้อยลง เนื่องจากค่าเงินที่แพงขึ้นทำให้หันมาเที่ยวในประเทศกันมากกว่าเดิม ดันมูลค่าท่องเที่ยวไทยให้สูงขึ้น
ส่งออกคือตัวเอกที่แบกประเทศเมื่อปี 64 โดยการส่งออกของไทยมีมูลค่ากว่า 8.6 ล้านล้านบาท เท่ากับครึ่งนึงของ GDP ไทยเลยทีเดียว
มาถึงปี 65 เมื่อเงินบาทอ่อนตัวดันมูลค่าการส่งออกเดือนมีนาคมโตระเบิด 19.5% สูงสุดในรอบกว่า 30 ปี
อุตสาหรกรรมการส่งออกฯ จึงถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์นี้
ต่อจากนี้จะเป็นยังไง
ทั้ง 2 ปัญหานี้มีสัญญานบ่งชี้มาสักพักแล้ว แต่ภาครัฐยังไม่ได้มีนโยบายรับมือหรือแก้ไขเลย ค่าเงินบาทที่อ่อนลงไม่ได้ส่งผลกระทบกับคนทั่วไปเพียงอย่างเดียว
แต่ยังส่งผลถึงผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจต่างๆ จากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และค่าเงินบาทที่อ่อนลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ถ้าภาครัฐยังไม่หาวิธีมารับมือ