การระดมทุน Startup แต่ละครั้ง มีกี่ระดับ?​ ทำอะไรบ้าง?

Highlight

ในปี 2563 สตาร์ทอัพไทย มีมูลค่าการระดมทุนกว่า 369 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 12,546 ล้านบาท จากการลงทุนทั้งหมด 36 ครั้ง นับเป็นปีที่มีการระดมทุนสูงสุดในประวัติศาสตร์สตาร์ทอัพไทย

รู้ไหมว่าเงินทุนต่าง ๆ  มาจากไหน? เอามาทำอะไรบ้าง?

——–

แต่ก่อนธุรกิจ 1 ธุรกิจ กว่าจะเติบโตระดับพันล้านหมื่นล้านได้

จะต้องค่อยๆ เก็บสะสมชั่วโมงบิน กู้หรือยืมเงินมาลงทุน ขยับขยาย แล้วเข้าตลาดหุ้น ใช้เวลาหลายปีกว่าจะเติบโตระดับโลก

แต่ธุรกิจ Startup เติบโตจนกลายเป็นบริษัทยักษ์ในตลาดหุ้นได้ในเวลาไม่กี่ปี

อย่าง Facebook Netflix Twitter Instagram Tesla เป็นต้น

ความสำเร็จของ Startup ในตำนานเหล่านี้

ทำให้วงการธุรกิจทั่วโลกเดินรอยตาม

หลายประเทศสร้าง Ecosystem ใหม่ๆ เพื่อบ่มเพาะ Startup 🚀 โดยเฉพาะ

และการเติบโตของ Startup ก็มาพร้อมรูปแบบการลงทุนที่เฉพาะตัว

ซึ่งก็คือวิธี Funding หรือ ระดมทุนจากแหล่งต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ระดับ ตามเงินระดมทุนที่ได้ในครั้งนั้น ๆ และสิ่งที่จะทำหรือทำอยู่เมื่อระดมทุนได้

——–

มาดูกันว่าการระดมทุนของเหล่า Startup แต่ละครั้ง

มีกี่ระดับ?​ ทำอะไรบ้าง? พร้อมตัวอย่างสตาร์ทอัพที่คนไทยต้องรู้จัก!

🚀 Pre-seed

มูลค่าการระดมทุนโดยเฉลี่ย 0.6 – 1.5 ล้านบาท

แหล่งเงินทุน: 

– เงินทุนตัวเอง

– เพื่อนและครอบครัว

– เงินสนับสนุนจากรัฐ

– เงินรางวัลจากการแข่งขัน

ในสเตจนี้จะทำอะไรบ้าง?

– ทดสอบไอเดีย ริเริ่มธุรกิจ

– สำรวจความต้องการของตลาด

– พัฒนาแผนการตลาด เพื่อเปิดตัวสินค้าและบริการ

ตัวอย่างการระดมทุนล่าสุด

– Skoolkit (https://www.skoolkit.co/ ) ธุรกิจ Edtech ของคนไทย

– Techmorrow ธุรกิจด้าน Agritech ของคนไทย

– Dinso (dinso.co) Social Platform เกี่ยวกับคำถาม-คำตอบของคนไทย

🚀  Pre-Series A

มูลค่าการระดมทุนโดยเฉลี่ย 3 – 100 ล้านบาท

แหล่งเงินทุน: 

– Angel Investor

– Micro VCs

– ระดมทุน Crowdfunding

ในสเตจนี้จะทำอะไรบ้าง?

– ปล่อยสินค้าและบริการสู่ตลาด

– สร้างรายได้และพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ตลาด

ตัวอย่างการระดมทุนล่าสุด

– Sasom มาเก็ตเพลสสินค้า Luxury ระดมทุนได้ 44.2 ล้านบาท ในปี 2021

– Hungry Hub แพลตฟอร์มจองร้านอาหาร ระดมทุนได้ 15.3 ล้านบาทในปี 2019

– Fixzy แพลตฟอร์มค้นหาผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลบ้าน ระดมทุนได้ 10.2 ล้านบาท ในปี 2016

🚀 Series A

มูลค่าการระดมทุนโดยเฉลี่ย 33 – 495 ล้านบาท

แหล่งเงินทุน: 

– Accelerator

– Super Angel Investor

– Venture Capitalist

ในสเตจนี้จะทำอะไรบ้าง?

– วางรากฐาน Business Model

– พัฒนาระบบ บุคลากร สินค้าและบริการ

– เตรียมแผนขยายธุรกิจ

ตัวอย่างการระดมทุนล่าสุด

– Bitkub แพลตฟอร์ม Cryptocurrency ระดมทุนได้ 238 ล้านบาท ในปี 2020

– FlowAccount โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ระดมทุนได้ 136 ล้านบาท ในปี 2021

– QueQ แอปจองคิว ระดมทุนได้ 95.2 ล้านบาท ในปี 2019

🚀 Series B

มูลค่าการระดมทุนโดยเฉลี่ย 340 – 1,360 ล้านบาท

แหล่งเงินทุน: 

– Venture Capitalist

– Late stage of VCs

ในสเตจนี้จะทำอะไรบ้าง?

– ธุรกิจเติบโต

– แข่งขันกับคู่แข่ง เพื่อเพิ่ม Market Share

– คัดสรรทีมงานที่มีคุณภาพ

ตัวอย่างการระดมทุนล่าสุด

– Sunday Insurance แพลตฟอร์มซื้อและเคลมประกันผ่านแอปพลิเคชัน

ระดมทุนได้ 1,530 ล้านบาท ในปี 2021

– FINNOMENA แพลตฟอร์มการลงทุนกองทุน

ระดมทุนได้ 340 ล้านบาท ในปี 2020

– Wisesight สตาร์ทอัพ Business Service ที่ให้บริการวิเคราะห์ Big Data

ระดมทุนได้ 238 ล้านบาท ในปี 2021

🚀 Series C

มูลค่าการระดมทุนโดยเฉลี่ย 1,700 ล้านบาท

แหล่งเงินทุน: 

– นักลงทุนสถาบัน

– กองทุนเฮดจ์ฟัน

– ธนาคาร

ในสเตจนี้จะทำอะไรบ้าง?

– ขยายกิจการ

– ครองตลาด เพิ่ม Market Share

– ผลักดันบริษัทสู่เส้นทาง ​IPO

ตัวอย่างการระดมทุนล่าสุด

– Ascend สตาร์ทอัพ Fintech ระดมทุนได้ 5,100 ในปี 2021

– Omise แพลตฟอร์มตัวกลางทางการเงิน ระดมทุนได้ 2,720 ในปี 2020

– Pomelo แพลตฟอร์มร้านค้าแฟชัน ระดมทุนได้ 1,768 ล้านบาท ในปี 2019

ยังมีมากกว่านี้อีก!

ถ้ามูลค่าการลงทุนมากขึ้น ก็จะนับเป็นสเตจต่อไปเรื่อย ๆ เช่น Series D Series E 

👉 ในตอนนี้ #FlashExpress เป็นสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ระดมทุนไปไกลถึง Series E โดยมีการระดมทุนอยู่ที่ 5,100 ล้านบาท (2021) นำโดย Buer Capital บริษัท VC ใหญ่ จากประเทศสิงคโปร์

ที่มา : AIS the startup, SET, Crunchbase, Techsauce, Siamblockchain, Cloudway, Brand Buffett

Popular Topics