Home Business กว่าจะมาเป็น ‘Starbucks’ ร้านกาแฟที่เป็นบ้านหลังที่สามของคนทั่วโลก

กว่าจะมาเป็น ‘Starbucks’ ร้านกาแฟที่เป็นบ้านหลังที่สามของคนทั่วโลก

ใครจะเชื่อว่าชายผู้ที่ไม่มีแม้กระทั่งบัญชีเงินฝากอย่าง ‘Howard Schultz’ จะเป็นผู้พลิกโฉมวงการกาแฟของโลกด้วยแบรนด์ ‘Starbucks’ ที่เติบโตอย่างรวดเร็วและครองใจผู้คนมายาวนาน

1

กว่าจะมาเป็น ‘Starbucks’ ร้านกาแฟที่เป็นบ้านหลังที่สามของคนทั่วโลก

ใครจะเชื่อว่าชายผู้ที่ไม่มีแม้กระทั่งบัญชีเงินฝากอย่าง ‘Howard Schultz’ จะเป็นผู้พลิกโฉมวงการกาแฟของโลกด้วยแบรนด์ ‘Starbucks’ ที่เติบโตอย่างรวดเร็วและครองใจผู้คนมายาวนาน

วันนี้ #Agenda สรุป Timeline ของ ‘Howard Schultz’ กับเส้นทางสู่แบรนด์ระดับโลกอย่าง ‘Starbucks’

— TIMELINE —

  • 1953

19 กรกฎาคม กำเนิดชายชื่อ ‘Howard Schultz’ ในย่านบรูคลิน, นิวยอร์ก เขาเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน รายได้ทั้งหมดมีพอแค่ซื้อข้าวกินไปวันๆเท่านั้น ทำให้เขา ต้องออกมาทำงานมากมาย ตั้งแต่อายุ 12 ปี ทั้งขายหนังสือพิมพ์ เด็กเสิร์ฟในร้านกาแฟ และทำงานในร้านขายขนสัตว์ ซึ่งทำให้เขาเป็นคนขยัน สู้งานตั้งแต่เด็กๆ

  • 1979

ด้วยความขยัน ในอายุ 26 ปี Howard ได้เป็นผู้บริหารบริษัทที่ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องบดกาแฟ Hamamaplast โดยเขาสังเกตว่า ร้านกาแฟแห่งหนึ่งในซีแอทเทิล สั่งเครื่องบดกาแฟจากบริษัทมากผิดปกติ จึงลองตามไปดู 

ร้านกาแฟแห่งนั้นคือ ‘Starbucks’ โดย Starbucks เป็นร้านกาแฟในเมืองซีแอทเทิล ที่ก่อตั้งในปี 1971 โดย Jerry Baldwin, Zev Siegl และ Gordon Bowker 

Howard ตกหลุมรักในรสชาติทันทีที่ได้ดื่ม และต้องการจะเป็นส่วนหนึ่งของ Starbucks ให้ได้

  • 1982

เขายอมลาออกจากงานเดิม มาทำงานเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของ Starbucks ถึงแม้จะได้เงินเดือนน้อยกว่าครึ่ง

  • 1983

ขณะที่ Howard อยู่ในระหว่าง businesstrip เขาเจอร้านกาแฟในมิลาน, อิตาลี เห็นว่า ร้านกาแฟไม่จำเป็นต้องขายกาแฟอย่างเดียวเสมอไป จึงได้ไอเดีย ‘ทำให้ร้านกาแฟเป็นบ้านหลังที่สาม’

เขาจึงนำเสนอไอเดียนี้กับผู้บริหารทั้งสามของ Starbucks แต่ทุกคนมองว่า นี่ไม่ใช่วิถีของ Starbucks ร้านกาแฟควรที่จะขายกาแฟเพียงอย่างเดียว ในที่สุดเขาจึงลาออกจาก Starbucks ในปี 1984 

  • 1985

หลังจากที่ออกจาก Starbucks เขาอยากที่จะเปิดร้านกาแฟเป็นของตัวเอง แต่เขาไม่มีเงินเลย เขาเล่าว่าการระดมทุนของเขาและภรรยา ได้ยินคำว่า ‘ไม่’ มามากกว่า 200 ครั้ง แต่ก็ยังมีคนหลายคน ที่ยังคงเชื่อมั่นในสิ่งที่เขาอยากทำ 

ในที่สุด เขาก็มีร้านกาแฟของตัวเองในชื่อ Il Giornale (อิล จออร์นาเล) 

โดยลูกค้าสามารถเลือกใส่ไอติมลงในกาแฟได้ อีกทั้งยังมีที่นั่งให้กับลูกค้า และเปิดเพลงโอเปร่าในร้านคลอเบาๆระหว่างจิบกาแฟไปด้วย สร้างบรรยากาศอันแสนอบอุ่นและเป็นมิตรแก่ลูกค้าเป็นอย่างมาก กาแฟของเขาขายดีตั้งแต่วันแรกที่เปิด ทำให้ขยายร้านไปได้ถึง 3 สาขา

  • 1987

ไม่กี่ปีต่อมาสามผู้ก่อตั้ง ก็ประกาศขาย Starbucks เนื่องจากต้องการโฟกัสกับร้านกาแฟอีกแห่งหนึ่ง Howard กลับมาซื้อ Starbucks ได้สำเร็จและเป็นเจ้าของอย่างเต็มตัว ด้วยราคา 3.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รับหนึ่งในเงินทุนจากพ่อของ Bill Gates เขารวมร้านเดิมเข้าด้วยกันและเปลี่ยนชื่อ Il Giornale เป็น Starbucks

  • 1988

จากความคิดของ Howard ที่เคยสูญเสียคุณพ่อไปเนื่องจากปัญหาสุขภาพ

Starbucks จึงเป็นบริษัทแรกในอเมริกา ที่ให้ ‘ประกันสุขภาพ’ ลูกจ้างทุกคน แม้กระทั่งพนักงานพาร์ทไทม์ 

  • 1991

ในตอนที่ Howard เป็นเด็ก ครอบครัวของเขาไม่มีเงินหรือทรัพย์สินอะไรเลย เขาไม่อยากให้ลูกจ้างของเขารู้สึกแบบนั้น จึงให้ลูกจ้างทุกคนมีสิทธิ์เป็นเจ้าของหุ้นได้ โดยเรียกหุ้นว่า ‘Bean Stocks’ 

Howard นำบริษัทเข้าสู่ตลาดหุ้นในปีต่อมา มีราคาเริ่มต้น 17 ดอลลาร์ โดย Bean Stock ได้สร้างกำไรมากกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ ช่วยให้พนักงานบางคนสามารถผ่อนบ้าน, ผ่อนรถ, จ่ายเงินกู้ หรือแม้แต่จ่ายค่าสินสอดได้

  • 1996

Howard ไม่อยากให้ Starbucks อยู่แค่ในสหรัฐฯอย่างเดียว แต่ต้องการให้ Starbucks กลายเป็น ‘ร้านกาแฟของคนทั่วโลก’ จึงเริ่มบุกตลาดญี่ปุ่นเป็นที่แรก เนื่องจากญี่ปุ่นบริโภคกาแฟมากที่สุดอันดับ 3 ของโลก จึงถือกำเนิด Starbucks สาขากรุงโตเกียว ถือเป็นสาขาแรกที่เปิดนอกสหรัฐฯ

  • 2008

เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐฯ ทำให้กำไรของบริษัทตกลงไปถึง 28% Howard  จึงกลับมาดำรงตำแหน่ง CEO อีกครั้ง หลังจากลงจากตำแหน่งไปในปี 2000 นำบริษัทกลับขึ้นมาจากหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่า 5 ดอลลาร์สหรัฐ ไปสู่ 60 ดอลลาร์สหรัฐได้ ด้วยกลยุทธ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การปรับระบบแคชเชียร์ให้ทันสมัย, ปิดสาขาในสหรัฐฯ 3.5 ชั่วโมง เพื่อสอนการชงกาแฟที่สมบูรณ์แบบ, การเปลี่ยนเครื่องชงกาแฟให้มืออาชีพมากขึ้น แต่ที่โดดเด่นที่สุดคือ ‘My Starbucks Idea’ เป็น Starbucks Social Network ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาแบรนด์ให้ดียิ่งขึ้น เป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

  • 2018

Howard เกษียณตัวเองออกจาก Starbucks อย่างเป็นทางการ แต่ยังคงตำแหน่ง Chairman Emeritus ด้วยอายุ 65 ปี 

ปัจจุบัน Starbucks มีสาขา 30,000 กว่าสาขาทั่วโลก นับเป็นความสำเร็จของร้านกาแฟเล็กๆ ในเมืองซีแอตเทิล ที่เติบโตอย่างยิ่งใหญ่ เป็นมากกว่าร้านกาแฟที่คนทั่วโลกยอมรับ ด้วยความเชื่อและหลงรักในกาแฟของชายคนหนึ่งที่ชื่อ ‘Howard Schultz’

Exit mobile version