มองอนาคต ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ แต่ละประเทศส่งเสริมยังไงบ้าง?

Highlight

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ทั้งแบบไฮบริดและแบบเต็มตัวกำลังทยอยออกรุ่นใหม่ ๆ ออกมายั่วน้ำลายต่อเนื่อง ทั้งค่ายรถยุโรป และค่ายรถญี่ปุ่น แล้วประเทศอื่น ๆ ที่เร่ิมมีการใช้รถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เขามีการจัดการ และส่งเสริมอย่างไรบ้างให้ผู้ผลิตหันมาผลิตมากขึ้น และผู้ใช้งานอยากซื้อรถ EV มาดูกัน

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ทั้งแบบไฮบริดและแบบเต็มตัวกำลังทยอยออกรุ่นใหม่ ๆ ออกมายั่วน้ำลายต่อเนื่อง ทั้งค่ายรถยุโรป และค่ายรถญี่ปุ่น

เห็นแล้วก็รู้สึกว่า #ของมันต้องมี ติดอยู่อย่างเดียว คือ ‘ราคา’ เพราะรถยนต์ไฟฟ้าที่วางจำหน่ายในประเทศไทย ค่อนข้างจะสูงกว่ารถยนต์ทั่วไปอยู่ 

เพราะถ้าสนใจซื้อ เราก็ยังมีภาษีประมาณ 3-4 ต่อที่ต้องเสีย แล้วแต่แบรนด์รถยนต์

เช่น ภาษีศุลกากรขาเข้า (ยกเว้นแบรนด์ MG ที่ครอบคลุมโดยข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-จีน จึงไม่มีภาษีก้อนนี้) ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย และภาษีมูลค่าเพิ่ม

แล้วประเทศอื่น ๆ ที่เร่ิมมีการใช้รถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เขามีการจัดการ และส่งเสริมอย่างไรบ้างให้ผู้ผลิตหันมาผลิตมากขึ้น และผู้ใช้งานอยากซื้อรถ EV มาดูกัน

————-

ไทย

สนับสนุนอะไรบ้าง

• ผู้ผลิต

เนื่องจากรัฐบาลไทย ต้องการจูงใจเหล่าผู้ผลิตให้มาตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เลยดูจะเน้นไปทางผู้ผลิตมากกว่า เช่น

– ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (สำหรับกิจการที่ลงทะเบียนกับ BOI)

– ยกเว้นอากรการนำเข้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์

• ผู้บริโภค

– ยกเว้นภาษีสรรพสามิต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2565 หรือ 3 ปี สำหรับผู้ผลิตที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน BOI 

– 1 มกราคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2568 จะกลับไปใช้อัตราภาษีสรรพสามิต 2%

และรถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตหลังปี 2568 จะต้องเสียภาษีสรรพสามิตที่ 8%

– อัตราภาษีนำเข้ารถ EV เหลือ 0% ตามข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-จีน

– (กำลังหารือ) โครงการเอารถเก่าเกิน 15 ปี มาแลกรถ EV

• เป้าหมาย

– ส่งเสริมให้มีการใช้รถ EV ภายในประเทศ 1.2 ล้านคันในปี พ.ศ. 2036 จากปัจจุบันมี 177,617 คัน (ณ 31 สิงหาคม 2020)

– ผู้นำอุตสาหกรรม EV ในภูมิภาค สนับสนุนผู้ผลิต

– กำหนดนโยบาย 30@30 คือ ตั้งเป้าว่าไทยจะผลิตรถ EV ให้ได้ 30% จากยอดผลิตรถยนต์ทั้งหมด หรือ 750,000 คัน ภายในปี 2030

– ตั้งเป้าว่าในปี 2030 จะมีสถานีชาร์จไฟฟ้าจำนวน 100,000 แห่ง

และกลายเป็น 200,000 แห่งภายในปี 2035

โดยในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 1,818 แห่ง

————-

นอร์เวย์

สนับสนุนอะไรบ้าง

นอร์เวย์เริ่มส่งเสริมให้คนใช้รถไฟฟ้าตั้งแต่ปี 1990 ด้วยมาตรการต่าง ๆ มากมาย ทำให้ในนอร์เวย์กลายเป็นหนึ่งในผู้นำการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแห่งหนึ่งในโลก

• ผู้บริโภค

– ให้เงินสนับสนุน ไม่ต้องเสีย VAT 25% และภาษีนำเข้าจากต่างประเทศ

– ให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการที่ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า

– ใช้แท่นชาร์จสาธารณะได้ ‘ฟรี’ มีให้ทุก 50 km

– ใช้ช่องทางสำหรับรถโดยสารประจำทางและรถแท็กซี่ได้

– ลดค่าจอดรถ 50% ในพื้นที่สาธารณะทุกแห่ง

• เป้าหมาย

– ใช้รถ EV ทั้งประเทศ ภายใน 2025 ปัจจุบัน EV มี Market Share ใน Norway 54%

————-

จีน

สนับสนุนอะไรบ้าง

• ผู้ผลิต

– ให้เงินไปวิจัยและพัฒนา จะได้ไม่ต้องนำเข้า

– ลดความเข้มงวด เพื่อดึงผู้ผลิต เช่น Tesla มาตั้งโรงงานในจีน (อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ : ทำไมจีนถึงรัก Tesla)

• ผู้บริโภค

– ให้เงินสนับสนุนสูงสุด 2 แสนบาท

มีที่ชาร์จสาธารณะแบบ Slow 3 แสนจุด แบบ Fast 2 แสนจุด

• เป้าหมาย

ผู้ผลิตรถ ผลิตแต่รถยนต์ EV ทั้งประเทศ ภายใน 2030

อัตราใช้รถ EV เพิ่มเป็น 30% ภายใน 2030

————-

เยอรมนี

สนับสนุนอะไรบ้าง

• ผู้ผลิต

ให้เงินสนับสนุนสำหรับการสร้างเซลล์แบตเตอรีรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ

• ผู้บริโภค

ยกเว้นการเก็บภาษียานยนต์กับรถ EV เป็นระยะเวลา 5-10 ปี

ให้เงินสนับสนุนสูงสุด 2 แสนบาท

มีที่ชาร์จสาธารณะ 27,730 จุด โดยออกกฎบังคับว่า ปั๊มน้ำมันทุกแห่งต้องมีที่ชาร์จ

• เป้าหมาย

– ปัจจุบันเยอรมนีเป็นผู้นำการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอยู่แล้ว หากนับโดยยอดขายที่ขึ้นมาแซงจีนแบบฉิวเฉียด โดยเยอรมนีตั้งเป้าจะเพิ่ม Market Share ตลาดโลกฝั่ให้เป็น 29% ภายในปี 2024

– เปลี่ยนมาใช้รถ EV ทั้งประเทศ ภายใน 2030

– เพิ่มที่ชาร์จให้ถึง 1 ล้านจุด

————-

ญี่ปุ่น

สนับสนุนอะไรบ้าง

• ผู้ผลิต

จัดตั้ง ‘เมืองยานยนต์ไฟฟ้า EV/PHEV town’ เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบที่มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย

• ผู้บริโภค

– ให้เงินสนับสนุนประมาณ 230,000 บาท สำหรับรถ EV

และที่น่าสนใจคือสำหรับรถยนต์พลังงาน

– สนับสนุนค่าอุปกรณ์ชาร์จไฟที่ต้องติดตั้งครึ่งหนึ่ง (ประมาณ 115,000 บาท) หากเป็นบริษัทจะได้รับค่าติดตั้งเพิ่มเติมสูงสุดเป็น 277,000 บาท

• เป้าหมาย

– ใช้รถ EV ทั้งประเทศ ภายใน 2050

– เพิ่มสถานีชาร์จไฟ โดยปัจจุบันมีแท่นชาร์จแบบด่วนอยู่ 7,100 แห่ง และสถานีชาร์จแบบปกติกว่า 2.8 หมื่นแห่ง

– ภายใน 2030 รถทั้งหมดที่วางขายต้องเป็น Hybird หรือ EV เท่านั้น

ที่มา: Global EV Outlook 2020, Reuters, Bloomberg

Popular Topics