Home BIZVERSE ส่องผลงาน KBTG เบื้องหลังความสำเร็จของธนาคารกสิกรไทย

ส่องผลงาน KBTG เบื้องหลังความสำเร็จของธนาคารกสิกรไทย

0

จากฝ่าย IT สู่องค์กรลมใต้ปีกพา KBank สู่ผู้นำเทคโนโลยีการเงิน
ส่องผลงาน KBTG เบื้องหลังความสำเร็จของธนาคารกสิกรไทย

ยุคของเทคโนโลยีที่การธนาคาร ไม่ใช่เพียงแค่ถือสมุดบัญชีไปฝาก-ถอนหรือเดินเรื่องกู้สินเชื่อเข้าไปที่สาขา ทุกอย่างทรานฟอร์มสู่ระบบออนไลน์ อำนวยความสะดวกสบาย เพิ่มความปลอดภัย และเป็นปัจจัยที่ทำให้สถาบันทางการเงินต้องพัฒนาเทคโนโลยีขององค์กรเพื่อให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ดิจิทัล

ธนาคารกสิกรในฐานะสถาบันการเงินอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยก็พยายามที่จะพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเงินขององค์กร ทั้งแอปพลิเคชั่น ระบบตรวจสอบ แพลตฟอร์มการเงิน ฯลฯ ล้วนเป็นผลงานของบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือที่หลายคนอาจจะคุ้นหูว่า “KBTG”

KBTG หรือ บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป เป็นหน่วยงานเบื้องหลังที่มีหน้าที่สำคัญในการ การพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นระบบธนาคาร บริการแอปพลิเคชัน และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เพื่อรองรับการเงินดิจิทัลแบงกิงของธนาคารกสิกรไทย
.
ตั้งแต่ KBTG แยกตัวออกมายืนด้วยตัวเองเมื่อปี 2559 เพียงไม่กี่ปีกลายเป็น “tech company” ที่น่าจับตามอง เพราะเติบโตจนมีพนักงานเกือบ 2,000 ชีวิต กำลังมีแผนจะขยายธุรกิจไปยังจีนและเวียดนามและที่สำคัญที่สุดมีผลงานนวัตกรรมเกี่ยวข้องกับการเงินไว้มากมาย
.
#Agenda ชวนส่องดูผลงานสุดล้ำ (บางส่วน) จากฝีมือ KBTG มาลองเช็กกันสิว่าแอปหรือบริการดิจิทัลแบงกิ้งนี้ คุณเคยมี เคยใช้ หรือติดอยู่ในโทรศัพท์บ้างหรือเปล่า จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน 💸

.
1) MAKE by KBank

ตัวช่วยบริหารจัดการเงินเพื่อต้องการตอบโจทย์การแบ่งเงินเป็นสัดส่วน สำหรับใช้ง่ายตามแผน เช่น ค่าบัตรเครดิต เงินชอปปิ้ง หรือเงินออม บริการนี้ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบ จัดสรร และประเมินการใช้จ่ายเงินได้รอบคอบยิ่งขึ้น ได้รับกระแสตอบรับอย่างดีจากกลุ่มคนรุ่นใหม่
.
2) Kubix

คิวบิกซ์ (Kubix) เป็นบริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลผ่านบล็อกเชน ถูกตั้งขึ้นเพื่อจับเทรนด์การเติบโตของสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ปัจจุบันได้รับใบอนุญาตดำเนินธุรกิจเสนอขายโทเค็นดิจิทัล (ICO Portal) จากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกลายเป็นช่องทางใหม่ในการระดมทุนทางการเงิน สำหรับคนที่ต้องการรับผลตอบแทนผ่านโทเคน
.
3) KhunThong

KhunThong เป็นบริการ Social Chatbot ที่ถอดแบบมาจากเหรัญญิกช่วยให้ผู้ใช้บริการคุมเงินใน Line การรวมเงิน คิดเงิน หารบิล และอื่น ๆ ให้จบใน LINE group ซึ่งเชื่อมโยงการจ่ายเงินผ่าน K PLUS หรือสามารถยืนยันความน่าเชื่อถือการโอนเงินระหว่างธนาคารด้วย e-Slip ที่มีคิวอาร์โค้ดจาก Mobile Banking ของธนาคารอื่น ๆ ยืนยันความน่าเชื่อถือด้วยการดูแลควบคุมโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

.
4) K+ SHOP

 K+ SHOP เป็นบริการจัดการร้านค้าสำหรับการค้าขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ร้านค้าสามารถรับชำระเงินจากลูกค้าผ่านคิวอาร์โค้ด แจ้งเตือนเงินเข้า-ออก เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ ตรวจสอบบัญชีในกรณีที่มีร้านค้าหลายสาขาซึ่งเก็บรวบรวมเป็น data ของร้านค้า ยังมีตัวช่วยเรื่องการติดตามการขนส่ง ข้อมูลยอดขาย เปิดหน้าร้านบน K Plus ทำให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นตอบโจทย์ยุคของการขายออนไลน์
.
5) K PLUS

ดิจิทัลแบงก์กิงประจำตัวของธนาคารกสิกรไทย เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการธุรกรรจการเงินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฝาก ถอน โอน ขอสินเชื่อ ตรวจสอบยอดเงิน ลงทุน ชอปปิ้ง เป็นต้น พัฒนาแอปพลิเคชั่นมาอยู่บนออนไลน์เพื่อสร้างความปลอดภัยที่มากขึ้นและอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าด้านการเงินครบวงจร
.
6) THAI NLP

THAI NLP หรือ THAI Natural Language Processing เป็นผลงานความร่วมมือระหว่าง NECTEC และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนา AI ที่เข้าใจภาษาไทยเพื่อสร้างแชทบอทสำหรับการบริการลูกค้า จะเน้นการพูดคุยตอบโต้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ธนาคารและธุรกิจ เนื่องจากพฤติกรรมของคนในปัจจุบันมักเลือกการติดต่อผ่านการพิมพ์ คุยกับแชทบอต มากกว่าการโทรศัพท์ติดต่อ Call Center

ThaiNLP จะช่วยให้การทำงานของธนาคารให้ความช่วยเหลือลูกค้าได้รับความพึงพอใจได้มากยิ่งขึ้น ช่วยวิเคราะห์ จัดการเอกสาร และคัดกรอบปัญหาเบื้องต้น ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ต่อการสรุปข้อมูลตรวจสอบสัญญา หรืออนุมัติสินเชื่อ ธุรกรรมต่าง ๆ ให้มีความรัดกุมมากขึ้นในอนาคต

ปัจจุบัน  KBTG นำทีมบริหารโดย กระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล” ประธานกลุ่มบริษัท และยังมีนวัตกรรมอีกมากมาย ดูแลการดำเนินการทางเทคโนโลยีอีกมากกว่า 500 โปรเจกต์ ในอนาคตจึงต้องติดตามกันต่อไปว่าบริการใหม่ นวัตกรรมใหม่ แอปพลิเคชันใหม่อะไรจะคลอดจาก KBTG องค์กรที่เริ่มต้นจากการเป็นหน่วย IT ของกสิกรไทยที่วันนี้ขึ้นมาเป็นบริษัทผู้นำต้น ๆ ด้านเทคโนโลยีการเงินระดับประเทศอีกบ้าง

ที่มา : kbtg, The Standrad, Prachachat, Techsauce

Exit mobile version